กระแสแห่งกรรม (๑)
ผู้ใดเมื่อถูกกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก เหมือนมิตตพินทุกะจับเท้าแพะเศร้าโศกอยู่ฉะนั้น
กระแสแห่งกรรม (๒)
ภิกษุทั้งหลาย โลสกติสสะผู้นี้ ได้ประกอบกรรมคือ ความเป็นผู้มีลาภน้อย และความเป็นผู้ได้อริยธรรมของตนด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้งก่อนเธอกระทำอันตรายลาภของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย แต่เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เทพบุตรมาร (๑)
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ เสื้อผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ที่อาศัย และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป ให้เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป โดยได้ศึกษามาว่า “พวกทวยเทพผู้สถิตอยู่ที่สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเทพที่มีอายุยืน มีวรรณะงดงามมาก เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข” ดังนี้แล้ว จึงตั้งจิตปรารถนาอย่างนี้ว่า “โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งทวยเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีเถิด” เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตไว้มั่น อบรมจิตอย่างนั้นโดยมิได้อบรมเพื่อคุณวิเศษเบื้องสูง อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
หลุดพ้นจากเวร
เพราะเหตุใด พวกเธอจึงจองเวรกันอย่างนี้ ถ้าหากพวกเธอไม่มาพบเราแล้ว เวรของพวกเธอจะเป็นเช่นนี้อยู่ชั่วกัป เหมือนเวรของงูกับพังพอน ของหมีกับไม้ตะคร้อ ของกากับนกเค้า เพราะฉะนั้น จงเลิกจองเวรกันเถิด เพราะเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
อย่าก่อเวรอีกเลย
บุคคลใดละบาปที่ตนทำไว้แล้วด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนดวงจันทร์ที่พ้นแล้วจากเมฆหมอก
ไม่มีใครติเตียน
ผู้ใด เมื่อผู้อื่นทำความดีต่อตน ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แล้วรู้คุณของเขา ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป
มนุษย์ชาวชมพูทวีป ย่อมประเสริฐกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและทวยเทพชั้นดาวดึงส์ด้วยฐานะ ๓ อย่างคือ เป็นผู้มีความองอาจกล้าหาญ เป็นผู้มีสติ และเป็นผู้สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้บริสุทธิ์ในพระพุทธศาสนา
คนเช่นอสูร คนเช่นเทวดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลในโลก มี ๔ จำพวก คือบุคคลเช่นกับอสูร มีคนเช่นกับอสูรเป็นบริวาร บุคคลเช่นกับอสูร มีคนเช่นกับเทวดาเป็นบริวาร บุคคลเช่นกับเทวดา มีคนเช่นอสูรเป็นบริวาร และบุคคลเช่นกับเทวดา มีคนเช่นกับเทวดาเป็นบริวาร
โลภนักมักลาภหาย
ถึงหากจะให้แผ่นดินทั้งหมด แก่คนอกตัญญู ผู้คอยมองหาช่องอยู่เป็นนิตย์ ก็ไม่ทำให้เขาพอใจได้
บัณฑิตควรตักเตือนกัน
คนเราควรเตือนสติกัน ควรแนะนำกัน และควรห้ามปรามกันจากอกุศลกรรม คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี