มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ก่อเวรเพราะวาทกรรม
ในโลกนี้ สิ่งที่จะบั่นทอนกำลังใจของคนเราได้มากคือคำพูด คำพูดที่ตัดกำลังใจหรือกดใจผู้ฟังให้ต่ำลง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกระคายหู ก่อให้เกิดความไม่พอใจความขุ่นมัวโกรธเคือง และยังเป็นวาทกรรมที่ก่อเวร ทำให้ผูกพยาบาทจองเวรกันอีกด้วย ซึ่งการผูกโกรธผูกพยาบาท จะทำให้ใจกระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ นอกจากนี้หน้าตาก็ยังเศร้าหมองไม่ผ่องใส ไม่น่าเข้าใกล้ ใครๆ ต่างถอยห่างไม่อยากจะคบหาสมาคมด้วย
พระพุทธคุณ ตอน พระคุ้มครอง
มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อถูกภัยคุกคามย่อมยึดเอาภูเขาป่าไม้ว่าเป็นที่พึ่ง แต่ที่พึ่งนั้นไม่เกษม ไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ที่พึ่งนั้นแลเป็นที่พึ่งอันเกษม เป็นที่พึ่งอันอุดม เมื่อบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
บุพกรรมของพระพุทธเจ้าตอนที่ ๑
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงจะหนีไปทางอากาศ ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีเข้าไปในซอกเขาก็ไม่พ้นจากกรรมชั่วไปได้ บุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใดพึงพ้นจากบาปกรรม ส่วนแห่งภาคพื้นนั้น ย่อมไม่มี
คนขายเนื้อ
ที่แคว้นฉีมีชายขายเนื้อคนหนึ่ง เปิดร้านขายเนื้อเล็ก ๆ ซึ่งมีกิจการค้าไม่เลวทีเดียว เขาจัดเป็นคนธรรมดาสามัญที่สุดคนหนึ่ง แต่มีความเข้าใจชีวิตดีทีเดียว
เจ๊กโคก
ผู้นำบุญจากบุรีรัมย์...ในวัยเด็ก เธอมักถูกล้อเลียนให้อับอายอยู่เสมอว่าเป็น “เจ๊กโคก” เพราะเธอใช้แซ่แบบชาวจีน ทั้งๆที่เธอเป็นคนผิวดำ...พ่อของเธอป่วยด้วยอาการประหลาด ปวดท้องอย่างรุนแรงมาก ต้องเข้ารับการผ่าตัด อาการก็ดีขึ้น ต่อมามีชายแปลกหน้า นำยามาให้พ่อของเธอกิน พร้อมกำชับข้อห้ามเอาไว้ด้วย ต่อมาไม่นาน จู่ๆพ่อของเธอก็เสียชีวิต อย่างกะทันหัน ชาวบ้านสันนิษฐานกันว่า ชายคนนั้นเป็นปอบ มากินพ่อของเธอ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สารธรรมของชีวิต
มนุษย์ทุกคนที่เกิดมา ต่างแสวงหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงสำหรับชีวิต แต่เนื่องจากปัญญาและวิจารณญาณที่แตกต่างกัน ทำให้มีการแสวงหากันไปต่างๆ นานา พบทั้งสิ่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ยิ่งถ้าขาดกัลยาณมิตร ก็เหมือนกับคนเดินทางในที่มืด
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - สัมมาทิฏฐิ ( ๕ )
พระพี่เลี้ยงได้ยินข่าวลือว่า "พระราชาทรงฟังถ้อยคำของอาชีวกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ จึงรับสั่งให้รื้อโรงทานที่ประตูเมืองทั้งสี่ บัดนี้ทรงมัวเมาแต่เบญจกามคุณ มิได้สนพระทัยในพระราชกรณียกิจเลย"
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ผู้คู่ควรแก่ความกตัญญู
ภาพคนแก่ คนเจ็บ คนตายเหล่านี้ เป็นภาพที่มนุษย์ทั้งหลายเห็นกันอยู่เป็นปกติ เห็นแล้วรู้สึกเฉยๆ เห็นแล้วไม่คิดต่อ แต่พระองค์คิดหาหนทางที่จะออกจากความทุกข์ อีกทั้งมีความเชื่อมั่นอยู่ในใจลึกๆ ว่า หนทางที่จะพ้นจากความทุกข์นั้นต้องมี ท่านคิดอย่างนั้นแล้วจึงแสวงหาหนทางแห่งความพ้นทุกข์เรื่อยมา
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - คุณสมบัติของคนดี
แม้จะได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติเชนนั้น พระสารีบุตร ก็ไม่เคยลืมบุญคุณของพระอัสสชิซึ่งเป็นครูบาอาจารย์องค์แรก เวลาก่อนจำวัด ไม่ว่าจะเดินทางไปพักอยู่ที่ใดก็ตาม ท่านจะตามระลึกถึงพระอัสสชิเถระผู้เป็นอาจารย์เสียก่อน เมื่อทราบว่าพระอาจารย์พำนักอยู่ทางทิศใด จะจำวัดหันศีรษะไปทางทิศนั้น เป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์