วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
วีณาถูณชาดก ชาดกว่าด้วยเรื่องรักคนผิด
ณ บ้านเศรษฐีแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี ผู้เป็นธิดาได้เจริญวัยเข้าสู่วัยสาว มีรูปโฉมงดงามยิ่งกว่าใครๆ ในหมู่บ้าน ล้วนเป็นที่หมายปองของชายที่พบเห็น มีชายมากมายมาสู่ขอธิดาผู้นี้จากเศรษฐี แต่ท่านก็ไม่ได้ยกให้ใคร
อัตถัสสทวารชาดก ชาดกว่าด้วยประตูแห่งประโยชน์
“ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์ คือสิ่งใดหรือครับ ผมศึกษาจากตำราแล้ว ทั้งอาจารย์สำนักอื่น ก็ไม่มีใครตอบได้เลยครับ ” “ ศิษย์เอ๋ย ปัญหานี้มันช่างยากจริงๆ แม้แต่อาจารย์คนนี้ ก็ตอบเจ้าไม่ได้เช่นกัน ”
สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
พระฤาษีได้ช่วยเหลือทุฏฐกุมารผู้มีใจโหดร้ายให้รอดพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลหลาก แต่ทุฏฐกุมารกลับโกรธแค้นที่ฤาษีดูแลและให้ความสำคัญกับชีวิตสัตว์มากกว่าตน เลยผูกใจเจ็บและได้สั่งตัดหัวพระฤาษีทันทีเมื่อได้โอกาส
ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสเป็นของเล็กน้อยไม่มีเลย ธรรมดาว่าภิกษุต้องข่มกิเลสที่เกิดแล้วแล้วเสีย บัณฑิตครั้งก่อนเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติต่างก็ข่มกิเลสทั้งหลายเสียได้บรรลุปัจเจกพุทธญาณ ”
ขุรปุตตชาดก ชาดกว่าด้วยการทำตนให้ไร้ประโยชน์
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกภรรยาเก่าโลมเร้า แล้วทรงซักถามภิกษุนั้น “ จริงหรือภิกษุ ได้ทราบว่าเธอกระสันอยากสึก ” “ จริงพระเจ้าค่ะ ” “ เธอกระสันอยากสึกเพราะเหตุอะไร ” “ เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าค่ะ ” “ ดูกรภิกษุหญิงนี้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอไม่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนเธอกำลังจะกระโดดเข้าไฟตายเพราะอาศัยหญิงนี้ แต่อาศัยบัณฑิตจึงได้ชีวิตไว้ ”
สุราปานชาดก ชาดกว่าด้วยโทษของการดื่มสุรา
พวกดาบสดื่มสุราแล้วก็เมามายไม่ได้สติ บางพวกลุกขึ้นฟ้อนรำ บางพวกขับร้อง รุ่งเช้าพอสร่างเมา ฤาษีพากันตื่นเห็นอาการอันวิปปริตของตนนั้น ต่างก็ร้องไห้คร่ำครวญ “ โธ่ พวกเราไม่ได้กระทำอันสมควรแก่บรรพชิตเลย แล้วถ้าอาจารย์รู้จะเสียใจเพียงไร ที่มีศิษย์ทำตัวเยี่ยงนี้ ”
อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
สังขเศรษฐีได้ช่วยเหลือสหายของตนนามว่าปิลิยเศรษฐี โดยแบ่งเงินของตนให้ ๔๐ โกฎิ แล้วยังแบ่งสมบัติทั้งหลายที่ตนมี ทั้งข้าทาสบริวารให้แก่ปิลิยเศรษฐีครึ่งหนึ่งในครั้งที่เพื่อนของตนเดือดร้อน แต่ในยามที่สังขเศรษฐีลำบาก ปิลิยเศรษฐีกลับเมินเฉยไม่ยอมช่วยเหลือใดๆ
กักกรชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดเอาตัวรอดได้
ครั้งนั้นมีศิษย์ของพระสารีบุตรรูปหนึ่ง ได้ยินว่าภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ฉลาดในการดูแลสุขภาพของตนเอง ไม่ฉันของเย็นจัด ร้อนจัด เพราะเกรงว่าร่างกายจะไม่สบาย ไม่ออกไปข้างนอกเพราะเกรงว่าร่างกายจะกระทบหนาวและร้อนไม่ฉันจังหันที่แฉะและเป็นท้องเลน
โลสกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของความอิจฉาริษยา
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล ณ ชนบทแคว้นโกศลมีหมู่บ้านชาวประมงประมาณ 1,000 ครอบครัว อาศัยอยู่ด้วยความผาสุกตลอดมา ครั้นต่อมาหญิงคนหนึ่งในหมู่บ้านได้ตั้งครรภ์ นับตั้งแต่นั้นมาทุกครอบครัวต่างก็ทำมาหากินฝืดเคืองลำบากมากขึ้นตามลำดับ