มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ผู้เลิศทางมีลาภ ( ๑ )
พระสีวลี ชื่อนี้ทุกท่านคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า ท่านเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และเพราะเหตุใดจึงทำให้ท่านได้เป็นผู้เลิศด้วยลาบ ท่านประกอบเหตุอย่างไร เราจะทำอย่าไรจึงจะได้มีลาภมากเช่นท่าน
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรบูชา
ผู้ใดพึงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระชนมชีพอยู่ก็ดี พึงบูชาพระบรมธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แม้พระองค์ท่านนิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมากเสมอกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงทำสถูปบูชาพระบรมธาตุของพระชินเจ้าเถิด
พระนันทกเถระ (๑)
ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น
เส้นทางจอมปราชญ์ (๖)
เมื่อพระตถาคตจะยังทรงพระชนม์อยู่ หรือเสด็จปรินิพพานไปแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอผลก็ย่อมสม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบธรรม สัตว์ทั้งหลายย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายได้กระทำสักการบูชาในพระตถาคตเหล่าใดไว้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้นย่อมเสด็จอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ
มหาสุบินของพระพุทธเจ้า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ ย่อมหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย หรือหากฝันก็ฝันแต่เรื่องที่เป็นสิริมงคล เทวดาจะลงปกปักรักษา
ทาสแห่งความสวยงาม
มาร Mara - แปลว่า "ตาย" มารจึงแปลว่า "ผู้ให้ตาย" ในความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า มารเป็นเทวดาจำพวกหนึ่งมีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑)
การบังเกิดขึ้นของดวงอาทิตย์ย่อมขจัดความมืดมิดให้หมดสิ้นไปได้ฉันใด การบังเกิดของเอกบุรุษ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ ในอันที่จะขจัดมลทิน คือ ความมืดบอดในใจให้หมดสนิ้ ไปได้ฉันนั้น เพราะความรู้อันบริสุทธิ์ที่เกิดจากการประพฤติธรรมตามคำสั่งสอนของพระองค์จะนำพาให้มวลมนุษย์มีดวงปัญญาบริสุทธิ์ ดำเนินชีวิตไม่ผิดพลาด และอยู่รอดปลอดภัยอย่างผู้มีชัยชนะในวัฏสงสาร
ปุณณปาติกชาดก ชาดกว่าด้วยความฉลาดทันคน
ย้อนไปในอดีตกาล สมัยที่พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชย์สมบัติ ณ กรุงพาราณสี ในครั้งนั้นยังมีนักเลงเหล้านั่งล้อมวงดื่มเหล้า เมาเป็นอาจิณ
วรุณชาดก ชาดกว่าด้วยการทำไม่ถูกขั้นตอน
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ณ พระเชตวันมหาวิหารอันเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีซึ่งเป็นสหายกันประมาณ 30 คน ถือของหอม ดอกไม้และผ้า คิดกันว่าจะเข้าเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา จึงได้พากันไปยังวิหารเชตวันและได้นั่งพักในโรงนา คมาฬกะ วิสาลมาฬกะ เพื่อรอเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
พระฤาษีได้ช่วยเหลือทุฏฐกุมารผู้มีใจโหดร้ายให้รอดพ้นจากกระแสน้ำที่ไหลหลาก แต่ทุฏฐกุมารกลับโกรธแค้นที่ฤาษีดูแลและให้ความสำคัญกับชีวิตสัตว์มากกว่าตน เลยผูกใจเจ็บและได้สั่งตัดหัวพระฤาษีทันทีเมื่อได้โอกาส