มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ประพฤติธรรม คือ เรื่องสำคัญของชีวิต
สังขารร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ความแก่ ความเจ็บ ความตายได้คืบคลานเข้ามาในชีวิตเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอนุวินาที โดยที่ตัวเราก็สังเกตไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๖๐ ปี จึงรู้ว่าเราแก่ลงทุกขณะ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกันไปสู่ความเสื่อมสลาย ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต
ยมโลก สถานที่พิจารณาบุญและบาป
นรชนเหล่าใดเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ ถูกเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ นรชนเหล่านั้นจะเข้าถึงหมู่สัตว์อันเลวทราม ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
ศาสดาเอกของโลก(๓)
นักปราชญ์บัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็นว่า การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บและความตายก็เป็นทุกข์ ท่านจึงแสวงหาหนทางพ้นทุกข์
เวสสันดรชาดก ตอนที่ ๑๕ ( กัณหาชาลีได้รับอิสรภาพ )
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัยของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาครเป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชาเวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราวไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ชีวิตเหลือน้อยนิด อย่าคิดเรื่องไร้สาระ
ดวงบุญนี้เป็นต้นเหตุแห่งความสุขและความสำเร็จ เมื่อเราปรารถนาสิ่งใด ให้อธิษฐานจิตในกลางดวงบุญนั้น ซึ่งเป็นทางมาแห่งมหาสมบัติทั้งหลาย ทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ คุณสมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มรรคผลนิพพาน ซ้อนอยู่ในกลางดวงบุญนั้น บางคนสายสมบัติโต บางคนเล็ก บางคนก็ริบหรี่ ตามแต่กำลังบุญที่ได้สั่งสมมา ดวงบุญนี้จะดึงดูดสมบัติหยาบในเมืองมนุษย์ ให้เราได้ใช้สร้างบารมีอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น เมื่อปรารถนาในสิ่งที่ดี ย่อมจะสมปรารถนาได้ ดังนั้น เราจึงต้องสั่งสมบุญกันให้มากๆ อย่าให้ขาดแม้แต่วันเดียว
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ยอมรับความจริงกันดีกว่า
พระราชาไม่ทรงเชื่อ จึงท้าให้พระดาบสนำหนอนมาให้ดูก่อน พระองค์จึงจะยอมเชื่อ พระดาบสใช้อานุภาพของท่าน บังคับให้หนอนสองตัวที่กำลังชอนไชหาอาหารอยู่ในมูลโค ออกมาปรากฏต่อหน้าพระราชา พลางทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พระเทวีอุพพรีนี้ได้จากพระองค์ไปแล้ว บัดนี้กำลังเดินตามหลังหนอนตัวผู้ ขอพระองค์จงทอดพระเนตรเถิด”
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทาน คือ ชีวิต
อย่างไรก็ตาม ตายเร็วตายช้าก็ไม่ได้เป็นเครื่องวัดความมีโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ต้องดูตัดสินขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าได้สั่งสมบุญกุศลใดบ้าง และมองไหลไปถึงชีวิตหลังความตายได้ว่า ตายแล้วไปไหน มีสุคติหรือทุคติเป็นที่ไป เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว ต้องไม่ประมาทในวัยและชีวิต ด้วยการหมั่นหาโอกาสสั่งสมบุญให้มากที่สุด ก่อนที่ความตายจะมาถึง
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - มหาพรหมผู้เห็นผิด
พระบรมศาสดาตรัสเตือนพรหมตรงๆ ว่า "พกพรหม ผู้เจริญ ตัวท่านกำลังตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา เพราะได้พูดสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง กล่าวถึงธรรมที่ไม่อาจนำออกจากทุกข์ว่า เป็นธรรมที่นำออกจากทุกข์ได้ ท่านกล่าวเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่สมควรแก่ท่านเลย"
โทษของคนมักโกรธ
คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกาย และวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตรและสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้