มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ความโลภทำให้คนมืดบอด
ทันทีที่เข้าไปในเมืองนั้น เขาเห็นนายประตูทูนจักรกรด หมุนบดขยี้อยู่บนศีรษะ แต่เขากลับมองเห็นเหมือนมงกุฎดอกบัว และมองเห็นเครื่องจองจำ ๕ ชิ้นที่หน้าอก เหมือนเป็นสังวาลย์เครื่องประดับของเทวดา ส่วนโลหิตที่ไหลจากศีรษะ ก็มองเห็นเป็นจันทน์แดงที่ชะโลมทา และเสียงครวญครางของสัตว์นรก ก็ฟังเป็นเสียงเพลงขับที่ไพเราะ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - พระิอินทร์มาเตือนสติ
ู้ประพฤติผิดศีลผิดธรรม ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา เป็นคนอกตัญญู ดูหมิ่นผู้มีพระคุณ คนเหล่านี้แหละที่เป็นศัตรูของเรา สุนัขดำจะเคี้ยวกินผู้ที่ไม่มีจิตเมตตา ชอบรังแกเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ประกอบ สัมมาอาชีวะ ประพฤติผิดในกาม แสวงหาความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข โดยไม่ทำความดีอะไร
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นคนดี ก็ไม่ควรประมาท
รุ่งขึ้น พระราชาให้นำไหขนาดใหญ่บรรจุคูถจนเต็ม เอาใบตองมาผูกปากไหไว้ ให้ไปตั้งเรียงกัน ใส่น้ำมันยาง ต้นกากะทิง และหนามงิ้วหนาๆ จนเต็มหม้อ วางไว้หัวบันได ทรงให้พวกนักมวยร่างใหญ่ ถือค้อนยืนอยู่ใกล้ๆ หัวบันได จากนั้นพระองค์ทรงรอคอยด้วยความอาฆาตแค้นที่สุมแน่นอยู่ในอก
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมตามกาล
พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ เอกธรรม ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในขณะที่มีอายุเพียง ๗ ขวบเท่านั้น เมื่อบรรลุธรรมแล้ว ก็ระลึกชาติในอดีตว่า ได้ทำบุญอะไรมา ถึงได้บรรลุธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ประเภทสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา คือ ปฏิบัติได้สะดวก ตรัสรู้ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องลำบากทำความเพียร เหมือนกับภิกษุรูปอื่นๆ ท่านได้เล่าให้ฟังว่า
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - รักษาใจให้เข้าถึงธรรม
ตั้งแต่บวชมา อาตมามีความสุขในเพศสมณะตลอดทั้งวันทั้งคืน จิตใจโปร่งโล่งเบาสบาย ไม่มีความกังวลใดๆเลย และทำความเพียรตลอดเจ็ดวัน พอถึงวันที่แปดจึงได้สำเร็จกิจอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยยินดีในลาภสักการะสรรเสริญ ไม่เคยมีอาพาธเลยแม้แต่น้อย จึงไม่ต้องแสวงหายามารักษาสรีรยนต์นี้
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ชีวิตที่ประเสริฐ
พระองค์ถือเอาความสิ้นไปของหยาดน้ำค้างนั้น เป็นอารมณ์ จึงมองเห็นภพทั้งสามดุจมีเพลิงลุกไปทั่ว จากนั้นได้เสด็จไปหาพระบิดาซึ่งกำลังประทับอยู่ ณ ศาลาวินิจฉัย เพื่อทูลลาบวช พระบิดาทรงห้ามว่า "อย่าผนวชเลย ถ้าเธอยังพร่องในเบญจกามคุณทั้งหลาย ฉันเพิ่มเติมให้ ถ้าผู้ใดเบียดเบียนเธอ ฉันก็จะห้ามปราม"
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ความทุกข์ในการครองเรือน
อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น ด้วยความรักและความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า "ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์ เรายังปริพาชกชื่อว่า วัจฉนขะ ผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้วแบ่งสมบัติทั้งหมดให้แก่ปริพาชกไปครึ่งหนึ่ง เราทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน"
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - ญาติธรรมและธรรมทายาท
แม้พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖โกฏิ สร้างพระวิหาร ๘๔,๐๐๐หลัง ไว้ในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงเป็นได้เพียงแค่โยมอุปัฏฐากเท่านั้น ครั้นทรงถวายพระกุมารและพระราชธิดา ผู้เป็นประดุจแก้วตาดวงใจไว้ในพระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่าเป็นทายาทในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
มงคลที่ ๓๒ ประพฤติพรหมจรรย์ - อบรมตนมุ่งสู่ทางสวรรค์
ผู้คนมากมายซึ่งต่างไม่ปรารถนาจะให้พระราชาออกผนวช พากันยื่นข้อเสนอมากมาย แต่พระองค์ไม่ได้ทรงยินดีกับสิ่งเหล่านั้น ยังคงมีพระทัยมุ่งมั่นที่จะเสด็จออกบรรพชาให้ได้ พระองค์ทรงแสดงธรรมให้เข้าใจว่า "ชีวิตนี้ถูกชรานำเข้าไป เป็นของน้อยนิด ดุจน้ำที่อยู่ในโคลน เมื่อชีวิตเป็นของน้อยเหลือเกินเช่นนี้ เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะประมาท
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ละตัณหาได้ ไม่ต้องเกิดอีก
ครั้นพระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลงแล้ว พราหมณ์ได้เพียงดวงตาเห็นธรรม ไม่ได้บรรลุอรหัตผล ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น เพราะเวลาฟังพยากรณ์ปัญหา มีจิตฟุ้งซ่าน คิดถึงลุงผู้เป็นอาจารย์ว่า ลุงของเราหาได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งไพเราะอย่างนี้ไม่ อาศัยความกังวลที่มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะความรักใคร่ในลุง จึงไม่อาจทำให้สิ้นอาสวะในตอนนั้นได้