คนทำชั่วย่อมเศร้าในโลกนี้และโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน
พิจารณาปล่อยวางในขันธ์ ๕
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว ล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุดฉันนั้น
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มิตรภาพที่ยั่งยืน
พระโพธิสัตว์รู้ว่า นางนกกระเรียนนี้คงน้อยใจและกลัวความผิด จึงปลอบใจโดยตรัสว่า "ผู้ ใดก็ตาม เมื่อผู้อื่นทำกรรมอันชั่วร้ายแก่ตนและตัวเองก็ได้ทำตอบแทนไปแล้ว ก็ย่อมจะรู้สึกว่าเราทำตอบแทนแล้ว ขอให้เวรนั้นสงบลงด้วยอาการเพียงเท่านี้เถิด ท่านจงอยู่ในเมืองนี้ต่อไปเถิด อย่าไปเลย"
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - มีไมตรีจิตต่อกัน
ข้าแต่พญาหงส์ ในยามผลดกนกทั้งหลายก็ชุม แต่พอผลวายนกทั้งหลายก็ไปไม่เหลียวแล ตอนมีผลประโยชน์ใครๆ ก็เห็นคุณค่า แต่ตอนที่หมดประโยชน์ ใครบ้างเล่าจะนึกถึงผู้มีอุปการคุณ เราจะไม่ไปไหนทั้งนั้น ต้นไม้นี้เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งญาติของเรา เราต้องการเป็นอยู่เพียงเท่านี้ ขอเพียงได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับต้นไม้ที่มีพระคุณกับเราเท่านั้น
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑ ( ศุภนิมิต )
เรื่องมโหสถบัณฑิตแห่งมิถิลานครนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาว แต่มีเนื้อหาสาระที่น่ารู้น่าศึกษามาก เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ปัญญา และปฏิภาณอันเฉียบแหลมของพระบรมโพธิสัตว์ แม้บางครั้งจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่คับขัน ขนาดเอาชีวิตเกือบไม่รอด แต่ท่านก็ยังมีจิตใจมั่นคง ใช้สติปัญญาเปลี่ยนวิกฤติมาเป็นโอกาส จนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - เลิกตระหนี่ตลอดไป (๒)
แม้เป็นเศรษฐีแล้ว ยังต้องให้ทาน จะได้รวยข้ามชาติ ไม่ ใช่เกิดมาเสวยสมบัติอย่างเดียว ส่วนท่านที่ยังลำบากยากจน ต้องเริ่มให้ทานได้แล้ว จะรอให้รวยแล้วจึงทำทานไม่ได้หรอก ต้องทำทานไปเรื่อยๆ ถึงจะรวย งานทางโลกเราก็ทุ่มเททำกันไป งานบุญงานกุศลก็ทำกันไป ให้เศรษฐกิจกับจิตใจไปด้วยกัน
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - งดเว้นจากอกุศลกรรม
นกกระทาคิดว่า หมู่ญาติของเรามากมายพากันฉิบหายเพราะอาศัยเราผู้เดียว บาปคงจะติดตามเราไปข้ามภพข้ามชาติเป็นแน่ วัน ต่อมา เมื่อนายพรานนำนกไปปล่อยไว้ในป่า เพื่อเป็นนกต่อตามปกติ นกกระทาก็ไม่ยอมร้อง แต่ถ้าไม่ร้อง นายพรานก็จะเอาแขนงไม้ไผ่ตีศีรษะ นกกระทาได้รับความเจ็บปวด จึงจำเป็นต้องส่งเสียงร้อง ทำให้มีนกกระทาอีกมากมายต้องมาตายด้วยน้ำมือของนายพราน
มงคลที่ ๓๖ จิตไม่โศก - ไม่ควรหวัง ในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ฆฏบัณฑิตได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า "ข้าพระองค์ไม่ปรารถนากระต่าย ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน ข้าพระองค์ปรารถนากระต่ายบนดวงจันทร์ ข้าแต่พระเจ้าพี่ ขอพระองค์โปรดนำกระต่ายนั้นมาประทานแก่ข้าพระองค์เถิด มิเช่นนั้น ชีวิตของข้าพระองค์ก็คงไม่อาจดำรงต่อไปได้"
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - พากเพียรเพื่อพระนิพพาน
บุคคลผู้มีปัญญา หากปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ในสังสารวัฏ ต้องแสวงหาหนทางพระนิพพาน อันเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ อีกทั้งต้องมีความพากเพียรพยายามไม่ลดละ เพื่อทำความปรารถนานั้นให้สำเร็จ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งยังสามารถเป็นกัลยาณมิตรชี้ทาง สว่างและเป็นแบบอย่างให้กับชาวโลกได้อีกด้วย ดังเช่น พระมหามิตตเถระ ผู้มีความเคารพในทานที่ญาติโยมตั้งใจถวายด้วยศรัทธา
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ทางรอดจากสังสารวัฏ
ทันทีที่ พระราชาบรมโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นผมหงอกบนฝ่าพระหัตถ์ ทรงสลดพระทัยพลางสอนตนเองว่า "ดูก่อนเจ้าสุสีมะ บัดนี้เวลาของชีวิตเจ้าล่วงเลยมามากแล้ว การอยู่ครองเรือนตกอยู่ในอำนาจของกิเลสอาสวะเช่นนี้ ไม่ใช่ทางรอดของชีวิต การบรรพชามุ่งทำความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้นเท่านั้น เป็นทางรอดจากสังสารวัฏได้ ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องประพฤติพรหมจรรย์แล้ว"