นิยามหรือผังของสรรพสิ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่าพระตถาคตทั้งหลาย จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุคือสิ่งที่ทรงตนเองอยู่ได้เอง ความตั้งอยู่โดยธรรมดา ความแน่นอนโดยธรรมดาอันนั้น ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ได้หยั่งรู้แล้ว จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม
ร่างกายของเรานี้ประกอบด้วยธาตุสี่ที่ไม่บริสุทธิ์จึงเสื่อมสลายตลอดเวลา ทำให้ต้องหา ธาตุสี่จากภายนอกมาเติมเข้าไปอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีสิ้นสุด ดังที่เราต้องประกอบกรรมต่าง ๆ เพื่อการเติมธาตุสี่ แต่กายนั้นก็ทำกรรมตามที่ใจของเราเป็นตัวสั่งการ ส่วนของใจทำหน้าที่รู้และคิด ส่วนของกายพูดและทำ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ประมาทแล้วต้องตั้งต้นใหม่ (๒)
เมื่อวันเวลาล่วงเลยไปหลายปี จากพราหมณ์หนุ่มก็กลายมาเป็นพราหมณ์แก่ชรา และได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่ยังมีสติอยากจะฟังธรรมิกถาจากพระสารีบุตร จึงสั่งคนรับใช้ให้ไปบอกพระเถระว่า บัดนี้ตนเองป่วยหนัก ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ถ้าพระคุณเจ้า สะดวกขอให้มาโปรดด้วยเถิด
บุญเท่านั้นที่ปรารถนา
บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญความไม่ประมาทในการสั่งสมบุญ เพราะผู้ไม่ประมาทย่อมยึดเอาประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้และประโยชน์ในสัมปรายภพ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด
อานิสงส์ถวายดอกอ้อ
ฉับพลันทันใดกินนรีก็คิดว่า ไทยธรรมที่ควรถวายในมือของเราก็ไม่มี หากเราจะไม่สั่งสมบุญอะไรเลย ก็จะทำให้เราคลาดจากบุญนี้ไป เราจะทำอย่างไรดีหนอ เมื่อคิดอย่างนี้กินนรีผู้มีบุญก็มองไปรอบๆ อาณาบริเวณ ขณะที่ในใจของนางนั้นเต็มเปี่ยมด้วยความปีติอันไม่มีประมาณ ก็มองไปเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ออกดอกงามสะพรั่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำก็ดำริว่า แม้ในมือของเราไม่มีไทยธรรม เราก็จะเอาดอกอ้อนี่แหละบูชาสมณะรูปนี้
รอยพระบาทริมฝั่งนัมมทานที
บุญอันล้ำเลิศย่อมเจริญแก่ชนทั้งหลาย ผู้เลื่อมใสแล้วในบุคคลผู้เลิศ อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ ความสุข และกำลังอันเลิศก็เจริญ ผู้มีปัญญาให้ของอันเลิศ ตั้งมั่นแล้วในธรรมอันเลิศ เป็นภูตหรือเทวดาก็ตาม เป็นมนุษย์ก็ตาม ย่อมเข้าถึงความเป็นเลิศ บันเทิงใจอยู่ นี้เป็นขุมทรัพย์ที่อำนวยสมบัติทุกอย่าง ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๕)
รสแห่งธรรมเลิศกว่ารสทั้งปวง ความสุขที่เกิดจากการเข้าถึงธรรมอันบริสุทธิ์ภายใน ประเสริฐกว่าความสุขอื่น...