มกุฏพันธนเจดีย์
มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นเจดีย์สร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระพุทธ สรีระของพระพุทธเจ้าใน วันอัฏฐมีบูชา...
สามเณร คือ ใคร
สามเณร คือ นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หน่อเนื้อของสมณะ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณร คือ ผู้สั่งสมบุญเก่ามาในอดีตไว้ดีแล้ว จึงได้มีโอกาสมาบวชฝึกฝนตนเอง
สามเณรนิโครธ ผู้จุดให้พระเจ้าอโศกมหาราชหันมานับถือและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ประมาณ ๓๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งนามว่า สามเณรนิโครธ อายุเพียง ๗ ขวบ ได้ออกบวชและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์สามเณรน้อยมีผิวพรรณผ่องใสและเป็นผู้ที่ฝึกตนเป็นอย่างดีจึงมีบุคลิกที่สงบเสงี่ยมสง่างามน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทำให้พระราชาคือ พระเจ้าอโศกมหาราชเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในทันทีที่เห็นสามเณรเดินผ่าน
ธุดงค์ธรรมชัย ... การเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง
สมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) คุณสมบัติของสมณะประกอบด้วย 3 อย่างคือ 1.สงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม ... 2.สงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี ... 3.สงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา
การกระจายตัวของเจดีย์พระบรมธาตุ
พระอรหันต์ทั้งปวงและพระเจ้าอโศกมหาราชได้ร่วมกันอธิษฐานว่า...เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เคยเสด็จไปยังถิ่นฐานบ้านเมืองหลายแห่ง แล้วทรงหมายสถานที่อันควรแก่การประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ จึงขออัญเชิญพระบรมธาตุไปสถิตในที่อันพระพุทธองค์ได้ทรงหมายเอาไว้นั้นเถิด...
ธุดงค์ธรรมชัยกับพุทธประเพณีการล้างเท้าพระ
การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังเรื่องของสังขพราหมณชาดก ที่กล่าว ถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในชาตินั้น สังขพราหมณ์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยเท้าเปล่าเหยียบย่ำทรายที่ร้อนดังถ่านเพลิง จึงเกิดกุศลศรัทธา รีบนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด
การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3
การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 รายละเอียด และมูลเหตุของการสังคายนา
สามเณรนิโครธ (๒)
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ฝึกตนแล้ว เป็นคนเที่ยงตรง เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติธรรมสมํ่าเสมอ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นภิกษุ
สามเณรนิโครธ (๓)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย เข้าไปหาสกุลใด มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ คือ สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล จิตของพวกมนุษย์ ย่อมเลื่อมใส สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์
เทพบุตรมาร (๒)
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น สัมผัสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่ารักน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารครอบงำ เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้น มารผู้มีบาปพึงใช้บ่วง ทำตามความปรารถนาไม่ได้