การบวชทำให้เป็นคนดี
คำถาม : การบวชที่ว่าทำให้เป็นคนดีนั้น ดีอย่างไร
อุุทัญจนีชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงโจร
พระโพธิสัตว์รู้ดีว่าไม่อาจเหนี่ยวรั้งผู้เป็นลูกที่กำลังลุ่มหลงในตัวหญิงผู้นั้นได้ จึงอนุญาตและให้โอวาทไว้ “ เอาเถิดลูกพ่อ หากเจ้าต้องการไปอยู่กับนาง เจ้าก็ไปเถิด ” “ ถ้างั้นข้าลาล่ะนะท่านพ่อ ” “ ช้าก่อนลูกเอ๋ย เมื่อเจ้าไปอยู่กับนางแล้ว หากวันใดนางใช้ให้เจ้าทำงานหาเลี้ยงดูนาง เมื่อนั้นเจ้าจงกลับมาหาพ่อ ” ดาบสหนุ่มมาอยู่กับนางผู้ล่อลวงนั้นได้ไม่นาน นางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจตน
ต้องรักษาใจ
“ใจ” มีธรรมชาติที่อ่อนไหว ปรวนแปรและล่องลอยไปในทุกๆ ที่ได้ง่ายแสนง่าย แม้แต่ช่วงเวลาเพียงเล็กน้อย
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
บุปผรัตตชาดก ชาดกว่าด้วยเป็นทุกข์เพราะภรรยาไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ
เมื่อทหารพาตัวชายผู้เป็นสามีมาถึงที่ ก็พาเขาไปเสียบที่หลาว เขาได้รับเวทนาแสนสาหัส ฝูงกาพากันไปเกาะที่ศีรษะ จิกนัยน์ตาด้วยจะงอยปากอันคมเหมือนปลายคีม ชายผู้นี้ไม่ได้ใส่ใจทุกขเวทนาที่ได้รับแม้แต่น้อย เขายังคงเฝ้าคิดถึงแต่หญิงอันเป็นที่รักเท่านั้น
อัมพชาดก ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ในฤดูแล้งที่ยาวนาน แหล่งน้ำดื่มกินเหือดแห้ง ดาบสหนุ่มได้ทำรางไม้และตักน้ำมาเติมจนเต็มเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายดื่มกิน จนตัวท่านเองเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรง สัตว์ทั้งหลายเห็นความลำบากของท่าน จึงพร้อมใจกันนำผลไม้จากป่าเอามาให้ดาบสในทุกๆ วัน
ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
มีนกจำนวนมากอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ริมสระน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งในสระมีพญานาคที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ฝูงนกจำนวนมากได้ขับถ่ายลงไปในสระน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความหายนะที่ได้เกิดขึ้นกับฝูงนกเหล่านั้น
มหาโมรชาดก ชาดกว่าด้วยพญานกยูงพ้นจากบ่วง
ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ประชาชนล้วนหลั่งไหลให้พระธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวชีวิต บ้างก็ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจให้ทำดี ครั้งนั้นได้มีหนุ่มรูปงามที่ตั้งใจจะละจากกิเลสทั้งปวง ออกบวชมุ่งปฏิบัติธรรม เพื่อตรัสรู้แจ้งแห่งธรรม การงานใดที่เป็นกิจของสงฆ์ ภิกษุหนุ่มนี้ ปฏิบัติได้ดีไม่มีขาด ว่างจากกิจก็นั่งสมาธิตั้งอานาปานสติ
จุลลกเศรษฐี-ชาดกว่าด้วยความฉลาดในการสร้างฐานะ
ในสมัยพุทธกาลขณะที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอดส่องพระพุทธญาณ ณ วัดชีวกัมพวัณ กรุงราชคฤห์เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ผู้ตกทุกข์ดังที่ทรงบำเพ็ญอยู่เป็นนิจ พลันสายพระเนตรทรงเห็นภิกษุหนุ่มจุลลปัณฐกะที่ท้อถอยสิ้นความเพียร เนื่องด้วยมีสติปัญญาทึบ
คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ
คิชฌชาดก พญาแร้งผู้มีความกตัญญู ผู้ที่สามารถนำพาเหล่าฝูงแร้งให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ แต่ตัวมันเองกลับต้องถูกจับเพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงอาญา...พญาแร้งจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่?...เกิดอะไรขึ้นกับพญาแร้ง?