มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 5 พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (1)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก เป็นผู้ไม่มากด้วยเวร เป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ เป็นผู้ไม่หลงทำกาละ และเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทนมี ๕ ประการเช่นนี้แล
จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (2)
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยความอดทน ย่อมไม่หลงทำกาละ เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (4)
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะอดทนได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็นยิ่งนัก ในความสุข และทุกข์ทั้ง ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลาง ทั้งในความสุขและทุกข์
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (2)
ชีวิตนี้น้อยนัก หมู่สัตว์ย่อมตาย แม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่เกิน ๑๐๐ ปีไปไซร้ สัตว์นั้นก็ต้องตายเพราะชราโดยแท้
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (6)
บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ แต่ก็ไม่อาจเป็นอยู่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนได้ฟังมา เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชนในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(4)
ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะมีโภคสมบัติเสมอด้วยพระอินทร์ ก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจ เพราะได้ความสุขที่ต้องอาศัยผู้อื่น
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(6)
ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังวังชา มีกรรมอันเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนด่าว่าผู้อื่นซึ่งหากำลังมิได้ ชนเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรม จึงตกลงสู่เวตรณีนรก
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(10)
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษาบุญอันสูงสุดต่อไป ซึ่งมีสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ มีความประพฤติสงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์ อันไม่มีความเบียดเบียน อยู่เป็นสุข
ฟอร์เวิร์ด เมล เตือน ส่งภาพ ข้อความเท็จ มีสิทธิเข้าซังเต