คัมภีร์แห่งกษัตริย์...สมบัติแห่งแผ่นดิน
คัมภีร์ใบลานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง หรือโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง รวมถึงคัมภีร์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่สร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับหลวง หรือฉบับของหลวง ส่วนคัมภีร์ใบลานที่พระภิกษุสงฆ์หรือราษฎรสร้างขึ้น เรียกว่า คัมภีร์ใบลานฉบับราษฎร์ หรือ ฉบับเชลยศักดิ์
คัมภีร์ใบลาน : สนองคุณพระศาสน์บทบาทสตรีไทย
แม้พระพุทธศาสนาจะให้โอกาสในการบวชเรียนแก่บุรุษมากกว่าสตรี อย่างไรก็ตามในกรอบ ของวัฒนธรรมยังมีการจัดสมดุลของการจรรโลงพระพุทธศาสนา ซึ่งสะท้อนความสำนึกรู้คุณของฝ่ายหญิงผ่านสายสนองเส้นผม ที่ร้อยรวมแผ่นคัมภีร์ใบลาน
เตรียมแผ่นลาน จารพระธรรม
ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์พุทธอุปัฎฐากว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้เป็นพระศาสดาปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ แต่ทรงให้พระธรรมวินัย คือคำสั่งสอน เป็นศาสดาแทนพระองค์ต่อไปในกาลภายหน้า
อนุรักษ์คัมภีร์ใบลานไทยรักษาไว้ให้แผ่นดิน
นับแต่การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสงแห่งธรรมของพระบรมศาสดาเป็นประดุจแสงสว่างส่องนำทางชีวิตให้แก่ชาวโลกตลอดมา ภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทำสังคายนาเพื่อเรียบเรียงพระธรรมวินัยและทรงจำสืบทอดต่อ ๆ กันมาด้วยการท่องจำเรียกว่า “มุขปาฐะ”
ผ้าห่อถักทอเชื่อมสายบุญ
ผ้าห่อคัมภีร์มีประเภทที่ทอด้วยเส้นฝ้ายหรือไหมล้วนและแบบที่มีไม้ไผ่สอดสลับ...
พระมหากษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก ตอน ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี รัชกาลที่ ๑ ทรงย้ายราชธานีจากฝั่งกรุงธนบุรีมาฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ฯ”
อักษรธรรมล้านนา อักษราจารพุทธธรรม
ย้อนไปนานนับพันปี บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา มีพื้นที่ครอบคลุมหลายจังหวัด อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ตลอดจนเขตสิบสองปันนาของจีนและบางส่วนของพม่าและลาว ผู้คนในถิ่นนี้มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง อักษรที่นิยมใช้เขียนวรรณคดีทางโลก คือ อักษรฝักขาม ส่วนอักษรที่นิยมใช้บันทึกหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา คือ อักษรธรรม จึงเรียกอักษรธรรมที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาว่า “อักษรธรรมล้านนา”
พระไตรปิฎกฉบับธรรมชัย...ก้าวไกลสู่เวทีโลก
พระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ สืบทอดผ่านการสวดทรงจำโดยเหล่าพุทธสาวก และจารจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกลงในคัมภีร์ใบลาน เมื่อครั้งกระทำสังคายนา ครั้งที่ 5 ราว ๆ ปี พ.ศ. 400 เศษ ณ อาโลกเลณสถาน ประเทศศรีลังกา
ย้อนรอยกาลตามรอยธรรมแห่งพระพุทธโฆษาจารย์
รอยจารึกอักษรโบราณอายุหลายร้อยปีที่ปรากฏบนแผ่นลานนั้น มีความหมายและทรงคุณค่าต่อการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์แห่งการสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านการจดจำและจดจารจากจุดเริ่มต้น ณ ดินแดนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
สมุดไทย...ทรงไว้ซึ่งสรรพศาสตร์และอัจฉริยภาพเชิงศิลป์
คัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกเป็นงานเขียนบันทึกโบราณที่ทางโครงการพระไตรปิฎก ฉบับวิชาการ มุ่งออกเดินทางสำรวจ ค้นหา และถ่ายภาพบันทึกไว้เพื่ออนุรักษ์สืบทอดเก็บไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการต่อไปในภายภาคหน้า เพราะเป็นผลงาน....