มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๖ ( ผู้ผดุงความยุติธรรม )
หนุ่มชาวนาตื่นขึ้นมาไม่เจอโคของตน ก็รีบวิ่งออกติดตามรอยเท้าโคไป เมื่อตามไปพบก็ร้องบอกโจรให้นำโคคืนมา ตนจะไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร แต่เหตุการณ์กลับตรงข้าม เพราะโจรอ้างว่าโคนี้เป็นของเขา เมื่อไม่ยอมกันทั้งสองเกิดการทะเลาะวิวาท ชาวบ้านจึงพามาหามโหสถให้ช่วยตัดสินว่า ใครเป็นเจ้าของโคตัวนี้กันแน่
เดินตามทางของบัณฑิต ตอนที่ ( ๓ )
เศรษฐีนี้เข้าไปตัดทานวงศ์ของเรา เมื่อละโลกจักต้องไปเกิดในนรกโดยไม่ต้องสงสัย เราจะต้องลงไปปราบความเห็นผิด และทำเขาให้เป็นผู้ดำรงวงศ์ทาน ซึ่งเป็นอริยประเพณีอันดีงามของเราให้สืบต่อยาวนานที่สุด
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ทางแห่งความเสื่อม
การดำรงตนให้หนักแน่น มั่นคงอยู่บนความเป็นมงคลนั้น ย่อมนำสิ่งที่ดีมาให้กับชีวิตของเรา มงคล แปลว่า เหตุแห่งความเจริญ หากรู้เช่นนี้แล้ว เราจะเป็นผู้ที่ห่างไกลจากเหตุแห่งความเสื่อม ทางแห่งความเสื่อมนี้ เคยมีคนสงสัยเหมือนกันว่า ผู้ที่เสื่อมกับผู้ที่เจริญนั้น พวกเขาดำรงตนอยู่บนเส้นทางเช่นไร