มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ทำอย่างไรได้อย่างนั้น
บางคนมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง คิด ว่าบุญบาปไม่มี เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น จึงไม่เชื่อเรื่องบุญกุศล แต่ผู้รู้ทั้งหลาย ได้พิสูจน์แล้วว่า บุญบาปมีจริง เป็นของละเอียดที่รู้เห็นได้ด้วยธรรมกายเท่านั้น สิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งเกินกว่าวิสัยของปุถุชนจะคิดเองได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เป็นอจินไตย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ ไม่ควรคิด ผู้ใดคิด ผู้นั้นพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า"
ผู้ให้คือผู้ชนะ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
ผู้ชนะความโกรธ
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามก
อานิสงส์ถวายพวงดอกมะลิ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลกด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ ฉะนั้น เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินทำให้เต็มที่ดอนและที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยญาณทัสสนะ เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย ย่อมบันเทิงใจในสุคติโลกสวรรค์
มงคลที่ ๕ มีบุญวาสนามาก่อน - ชีวิตที่ลิขิตได้ด้วยบุญ
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงขีดถึงคราวที่บุญส่งผลจะได้รับเกินควรเกินคาดทีเดียว แม้ตัวเรายังรู้สึกอัศจรรย์ในตัวเอง
ต่างกันไหม คนที่ให้ทานกับไม่ให้ทาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดาย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นทิพย์
เอาเต่าเป็นครู
สังคมปัจจุบันนี้มีภัยอยู่รอบตัว โดยเฉพาะภัยทางอารมณ์ที่คอยรุมเร้าจิตใจของเราให้เศร้าหมอง เร่าร้อนกระวนกระวาย
ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ใกล้ตาย
ธรรมเนียมปฏิบัติต่อผู้ใกล้ตาย เป็นหน้าที่ของพวกญาติมิตรที่ต้องทราบเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง แม้บางครั้งอาจจะไม่ถูกใจของญาติมิตรบางคน หรือแม้แต่ผู้ที่ใกล้ตายก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำเพื่อคนใกล้ตาย
ปฏิปทาแห่งพรหมโลก
ตถาคตถูกถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้าหรือประหม่าเช่นเดียวกัน ดูก่อนมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัดซึ่งประการนั้นด้วย
ศาสดาเอกของโลก (6)
ชนเหล่าใด ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ชนเหล่านั้น ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่ไปสู่อบายภูมิ เมื่อละกายมนุษย์นี้แล้ว จักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์...