ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว
สามเณรนิโครธ (๒)
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ฝึกตนแล้ว เป็นคนเที่ยงตรง เป็นพรหมจารี เลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง พึงประพฤติธรรมสมํ่าเสมอ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นสมณะ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นภิกษุ
ความไม่ประมาท
ความไม่ประมาท คือการมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางที่เสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมที่ต้องเว้น ใส่ใจสำนึกอยู่เสมอในหน้าที่ ไม่ปล่อยปละละเลย กระทำอย่างจริงจังและดำเนินรุดหน้าตลอดเวลา
ธรรมกาย กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม คำว่า “ธรรมกาย” มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง พุทธรัตนะ คือ ธรรมกาย ธรรมรัตนะ คือ ธรรมทั้งหลายที่กลั่นจากหัวใจธรรมกาย สังฆรัตนะ คือ ดวงจิตของธรรมกาย
องค์อัมรินทราธิราช
ท้าวสักกเทวราช ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทไม่ว่าในกาลไหนๆ บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนความประมาท
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท จึงยินดีในความไม่ประมาท อันเป็นแนวทางของพระอริยะ
พญานาค คาถาป้องกันงู
ตระกูลนาคเป็นสัตว์ดุร้ายเจ้าโทสะ ได้รับกระทบกระทั่งแม้เกน้อยก็โกรธอาจเผาผลาญผู้ที่ตนพบเห็นหรือฉกกัดได้ ผู้ที่กลัวงูทั้งหลายจึงหาวิธีป้องกันงูในลักษณะต่างๆ อันนำมาซึ่งความผูกอาฆาตพยาบาทผูกเวรกันต่อไปข้ามชาติ เช่น ตีงูจนหลังหัก หรือตายก็มี
ปราสาทคือปัญญา
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา
เมื่อบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา" ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
เส้นทางจอมปราชญ์ (๙)
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีความผ่องใส สุคติก็เป็นอันหวังได้