การควบคุมจิตด้วยปัญญา
ถ้าเรามีจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ก็เรียกว่า เรามีจิตเป็นพุทธะขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมาทันที รู้อะไรถูกต้องขึ้นมาแล้วก็เป็นตัวเองอย่างแท้จริง สภาพมันอยู่คงที่หน้าตาของมันดั้งเดิม ของมันปรากฏอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกฉาบไปด้วยกิเลส เรียกว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง สภาพจิตมันเป็นอย่างนั้น...
การอั้นปัสสาวะ และ อั้นอุจจาระ อันตรายต่อ สุขภาพ
หรือ..มีการประชุมเรามักจะอั้นปัสสาวะกันครั้งละนานๆ หรือบางคนนอนหลับแล้วปวดปัสสาวะ แต่ไม่อยากลุกเข้าไปในห้องน้ำ เพราะ
เครื่องกั้นจิตปิดกั้นใจ
“จิต” ของมนุษย์นั้นเดิมทีมีความใสสว่าง สะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า “จิตประภัสสร” แต่เพราะถูกอาคันตุกะกิเลส(กิเลสที่จรมา)
สร้างบารมีได้ตลอดรอดฝั่งต้องมีธาตุบริสุทธิ์
การจะอยู่สร้างบารมีกับหมู่คณะไปได้นาน ๆ ต้องมีธาตุบริสุทธิ์มาก หากมีธาตุบริสุทธิ์มาก ธาตุที่ไม่บริสุทธิ์ก็จะค่อย ๆ หมดไป ดังนั้นเราต้องไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตโดยการหมั่นสั่งสมธาตุบริสุทธิ์เอาไว้มาก ๆ
เวลาพักของใจ
เมื่อเราทำงานหนัก เราเหนื่อยก็ต้องพักผ่อนนอนหลับ แต่เมื่อใจเราล้า เราจะให้ใจเราได้พักด้วยวิธีใด
มีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
ผู้ให้คือผู้ชนะ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
รักษาใจเพียงหนึ่งเดียว
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ที่ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา เพราะจิตที่รักษาไว้ได้ดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้
ปล่อยวางให้พ้นใจ
การแบกที่หนักที่สุดคือการแบกจิตที่ไม่รู้จักปล่อยวาง การปล่อยวางถือเป็นคุณสมบัติของคนที่เข้มแข็ง และแข็งแกร่ง
นิยามหรือผังของสรรพสิ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่าพระตถาคตทั้งหลาย จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุคือสิ่งที่ทรงตนเองอยู่ได้เอง ความตั้งอยู่โดยธรรมดา ความแน่นอนโดยธรรมดาอันนั้น ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ได้หยั่งรู้แล้ว จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา