โครงการบวชผู้นำอุบาสิกาแก้ว 1 ล้านคนฉลองวันวิสาขบูชา ณ วัดพระธรรมกาย
ฉลองวันวิสาขบูชา วันขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วัดพระธรรมกาย จัดโครงการบวชอุบาสิกาแก้ว 1 ล้านคน รุ่นผู้นำฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ระหว่างวันที่ 14-20 พฤษภาคม พ.ศ.2559
เส้นทางจอมปราชญ์ (๑)
ขุมทรัพย์คือบุญนั้น สามารถให้สมบัติที่น่าใคร่ทุกอย่างได้ มนุษย์และเทวดาทั้งหลายปรารถนาผลใด ผลทั้งปวงย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น
นักสร้างบารมีกับพันธกิจยอยกพระพุทธศาสนา
ยอดนักสร้างบามีผู้มีหัวใจโชนนิรันดร์ทุกท่าน เมื่อเทียบเวลาในมนุษยโลกกับดุสิตบุรีช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นเหลือเกิน เวลา ๑ ปีของเรานั้น เท่ากับ ๖ ชั่วโมงในดุสิตบุรี เราสละทิพยสมบัติมาไม่กี่ชั่วโมง เพื่อเอาบารมีกลับไปให้ได้มากที่สุด
พระภัททิยะเถระ
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้ ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่อย่างมีความสุข
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๑
พญาราชสีห์ได้เหยื่อและกลับมายังถ้ำ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติอยู่ภายในถ้ำ จึงคิดว่า "ในป่าแห่งนี้ ไม่มีสัตว์อื่นที่มีความสามารถจะมานั่งกลางอากาศในที่อยู่ของเราได้ บุรุษนี้ช่างยิ่งใหญ่จริงหนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำของเรา และมีรัศมีกายสว่างไสวแผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ถึงเพียงนี้ สงสัยบุรุษนี้คงเป็นยอดมหาบุรุษของโลก"
พระพุทธคุณ ตอน สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ไร้ที่พึ่ง ทรงประทานความไม่มีภัยแก่เหล่าชนผู้มีความกลัว ทรงเป็นที่คุ้นเคยของผู้มีภูมิธรรมสงบ ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
ชีวิตในสังสารวัฏ
เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง เราและเธอทั้งหลายได้ท่องเที่ยวไปในชาตินั้นๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี
พระมหากัจจายนะกับการออกแบบชีวิตให้มีผิวพรรณวรรณะงดงาม
พระมหากัจจายนะเป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่เป็นแบบอย่างในการออกแบบชีวิตของเราให้มีผิวพรรณวรรณะที่งดงาม เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการเหยียดผิว หรือการแบ่งชนชั้นวรรณะที่เป็นปัญหาคู่โลก
พระพาหิยทารุจิริยเถระ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละไปตามลำดับ บุคคลเมื่อเห็นมรณภัยแล้ว พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสู่สันติเถิด”
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ
ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามครูฝึกม้าชื่อ เกสี ที่ไปเข้าเฝ้าพระองค์ว่า “ดูก่อนเกสี ใครๆก็รู้ว่าท่านเป็นครูฝึกม้าฝีมือดีคนหนึ่ง ท่านฝึกม้าอย่างไรเล่า” นายเกสีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฝึกม้าของข้าพระองค์มี ๓วิธี คือ วิธีแรก ข้าพระองค์จะฝึกด้วยวิธีละม่อม ค่อยเป็นค่อยไป วิธีที่สอง ฝึกด้วยวิธีรุนแรง และวิธีสุดท้ายฝึกผสมกันทั้งสองวิธี”