ชัยชนะครั้งที่ 7 (ตอนที่ 2 ชนะนันโทปนันทนาคราช)
ภูเขาเวปุลละสูงตระหง่านเป็นเยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์ เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่าหิมวันต์ ดวงสุริยาเป็นเลิศกว่าบรรดาสิ่งที่ไปในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำทั้งหลาย ดวงจันทราเป็นเลิศกว่าดาราทั้งหมด ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นเลิศกว่าประชุมชนทั้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (3)
รสเหล่าใดมีอยู่ในแผ่นดิน สัจจะเป็นรสที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสเหล่านั้น เพราะว่าสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะย่อมข้ามพ้นฝั่งแห่งชาติและมรณะได้
สละชีวิตเป็นทาน(ปรมัตถบารมี)
หากว่าปราชญ์พึงเห็นแก่สุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย เมื่อผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์แล้ว ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย
ชัยชนะครั้งที่ 1 (ตอนที่ 2 ชนะพญามาร)
เราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปในสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเรา ถึงวิสังขารคือพระนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้...
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 2 พุทธคุณ ๘ ประการ)
บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยคุณอันอุดมอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 5 พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (2)
ชีวิตนี้น้อยนัก หมู่สัตว์ย่อมตาย แม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่เกิน ๑๐๐ ปีไปไซร้ สัตว์นั้นก็ต้องตายเพราะชราโดยแท้
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (6)
บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ แต่ก็ไม่อาจเป็นอยู่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนได้ฟังมา เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชนในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 6 ขอลาบวช)
ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมต้านทานไม่ได้ ผู้เห็นภัยในความตายนี้มุ่งต่อสันติ พึงละโลกามิสเสีย
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 1 เทวสันนิบาต)
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป