กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”
กุสนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยประโยชน์ของการคบมิตร
ณ บ้านมหาเศรษฐี นามอนาถบิณฑิกะ ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้คบหากับมิตรผู้ที่ฐานะต่ำต้อยกว่า และได้แต่งตั้งให้บุรุษผู้นั้นเป็นผู้ดูแลสมบัติทั้งหมดของตน เหล่าบรรดาญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะต่างแสดงความไม่พอใจ และขอให้ท่านเศรษฐีเลิกคบหากับมิตรผู้นั้น
พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร
กาลครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยังพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถี พระองค์ได้หยั่งรู้ถึงความทุกข์กายทุกข์ใจของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรรูปหนึ่งที่ไม่อาจแสวงหาโลกธรรมได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง
มิตตวินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาข้อตัณหาอันเป็นสิ่งกว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด ณ พระเชตะวันมหาวิหารในนครหลวงแห่งมคธรัฐ พุทธวัจนในพระธรรมบทนี้ได้รับการจดจำต่อๆ กันว่าชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นก็เช่นผู้ถูกจักรกรดไว้
วันนี้วันที่สิบเอ็ดของการเข้าพรรษา : ธรรมชาติ
11 วันแล้วตั้งแต่วันเข้าพรรษา อ่านเรื่องเล่าวันเข้าพรรษา พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อธัมมชโย ช่วงเข้าพรรษา ปีพ.ศ.2546 มาติดตามกันค่ะ ...
ภูมิของพระโสดาบัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการคือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า
อกตัญญุตาชาดก-ชาดกว่าด้วยคนอกตัญญู
พุทธกาลสมัยหนึ่งครั้งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกทั้งหลายกลับจากกรุงราชคฤห์ แผ่นดินมคธมาสู่พระเชตวันมหาวิหาร ณ นครสาวัตถี ในโกศลรัฐนั้น สิ่งร้าวรานที่เกิดจาก เทวทัตเถระ กระทำย่ำยีต่อพระพุทธศาสนาในการแบ่งแยกหมู่สงฆ์และสะพิงบัญญัติใหม่แปลกไปจากพุทธวินัยในแคว้นมคธก็กลายเป็นข้อวิภาคเจ็บร้อนขึ้นในธรรมสภา
เวทัพพชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการไม่รู้จักกาลเทศะ
พุทธกาลครั้งหนึ่งยังมีภิกษุชาวสาวัตถีรูปหนึ่ง มีความอวดดื้อถือดีจนเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบท่านจึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณแล้วพบว่า ภิกษุรูปนี้เมื่อกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากจนเป็นเหตุให้ตนเองและบุคคลเป็นพันๆ คน ต้องถึงแก่ความตาย
มหาอุกกุสชาดก ชาดกว่าด้วยการผูกมิตร
บุคคลพึงคบมิตรสหายและเจ้านายไว้ เพื่อได้รับความสุข เรากำจัดศัตรูได้ด้วยกำลังแห่งมิตร เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบุตรทั้งหลาย บันเทิงอยู่เหมือนเกราะที่บุคคลสวมแล้ว ป้องกันลูกศรทั้งหลายได้ ฉะนั้น
ปัญจาวุธกุมาร-ชาดกว่าด้วยการทำความเพียร
ขณะเมื่อพระพุทธศาสดาประทับในมหาวิหารทรงแจ้งในพระญาณว่า ยังมีภิกษุเกียจคร้านอาศัยครองเพศสมณะไปวัน ๆ ทรงตักเตือนด้วยพุทธโอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลายกระทำความเพียร ในที่ที่ควรประกอบความเพียร ก็ยังบรรลุถึงราชสมบัติได้” ทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วยชาดกเรื่องหนึ่งส่งเสริมพุทธโอวาทเกี่ยวกับความเพียรนั้น