ชาตาชาดก-ชาดกว่าด้วยภรรยา 7 แบบ
ณ เมืองสาวัตถี มีครอบครัวของเศรษฐีผู้หนึ่งนามว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้นหลังจากรับสะใภ้ที่เป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่เข้ามาอยู่ในบ้าน สะใภ้ที่ว่านี้ก็คือนางสุชาดาผู้เป็นน้องสาวของนางวิสาขา สะใภ้ผู้นี้สำคัญตนว่าเป็นลูกสาวของตระกูลใหญ่จึงไม่ยอมก้มหัวให้กับใครเลยในครอบครัวสามี เที่ยวดุด่าเฆี่ยนตีทาสรับใช้ในเรือนของสามีอยู่เป็นประจำ
สาลิเกทารชาดก ชาดกว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
พญานกแขกเต้าผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาของตน และมีจิตเมตตา ต่อทุกสรรพชีวิตแม้แต่พราหมณ์โกสิยะเจ้าของไร่ข้าวสาลี ผู้ที่สั่งให้คนดูแลไร่ข้าวสาลี ไปจับตนมา ซึ่งต่อมาในภายหลัง พราหมณ์โกสิยะก็ได้ชื่นชมยกย่องคุณธรรมความโอบอ้อมอารี ความกตัญญู ของพญานกแขกเต้า
กากาติชาดก-ชาดกว่าด้วยนางกากี
ในพุทธกาลสมัย ครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น พระพุทธองค์มีพระประสงค์จะปักฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จึงได้เสด็จจาริกออกเผยแผ่พระธรรม โปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายยังดินแดนน้อยใหญ่ชมพูทวีป
จันทกินรีชาดก-ชาดกว่าด้วยความผูกพันจงรักภักดี
ครั้งเมื่อพระพุทธศาสดาเสด็จสู่แคว้นสักกะแห่งศากยวงศ์ พร้อมพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องซ้ายและขวาและสังฆสาวกทั้งมวล พุทธกาลครั้งนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นครหลวงของแคว้นสักกะ เพื่อแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดา
ตักกบัณฑิตชาดก-ชาดกว่าด้วยการข้องแวะกับกิเลสคือบ่อเกิดแห่งทุกข์
พระชาติหนึ่งของพระพุทธองค์บังเกิดขึ้นในที่พักสงฆ์ พระอารามเชตวัน กรุงสาวัตถี ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเมื่อออกบิณฑบาตได้พบกับสตรีผู้เลอโฉมเข้าในเช้าวันหนึ่งเนื่องจากภิกษุรูปนี้ยังมีพรรษาในเพศบรรพชิตไม่มากนักทำให้ไม่สามารถละกิเลสได้โดยเกิดความต้องจิตพิศมัยในความงามของสตรีนางนั้น
มหากัณหชาดก-ชาดกว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
ตั้งแต่พระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัมโพธิญาณ แสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิล 3 พี่น้อง โปรดองคุลิมาล คนบาปจนตั้งอยู่ในอรหัตผล เสด็จโปรดเหล่าเทวดา 80 โกฏิจนบรรลุธรรม
กิงฉันทชาดก ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น
ในความยาวนานเป็นอสงไขยแห่งห้วงอนันตจักรวาลนี้ ทุกชีวิตล้วนเคยเกิดและตายมานับครั้งไม่ถ้วนจนกระดูกของคนนับได้ว่ากองเท่าภูเขาและสูงใหญ่ได้เท่ากับผู้อยู่ใกล้ตัวที่ต้องร่วมกรรมต้องกันมาทุกชาติทุกชีวิต มีความเป็นไปเช่นนี้เหมือนกันหมด
อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร
ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป
กัฏฐหาริชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษแห่งการแบ่งชนชั้น
ณ ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นยังมีการถือชนชั้นกีดกันวรรณะกันอย่างรุนแรงแม้แต่ในหมู่พระประยูรญาติขององค์พระพุทธศาสดาเอง อุษาสางวาระหนึ่งเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอดส่องพระญาณก็ทรงพบว่า ความทุกข์เวทจากวรรณะได้เกิดกับพระญาติแห่งศากยวงศ์
โมรณัจจชาดก-ชาดกว่าด้วยผู้ขาดหิริโอตัปปะ
ครั้นเมื่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธรัฐแล้ว ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ อันมีฉายาว่าเบญจคีรี ที่มีภูเขาทั้ง 5 เป็นปราการมาประทับยังนครสาวัตถีในแคว้นโกศลนั้น แสงธรรมจากพระพุทธองค์ก็ส่องรัศมีกระจ่างไปทั่วแผ่นดินอนุทวีป