ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 9
ในตอนนี้จะกล่าวถึง มาตลีเทพบุตรได้อธิบายเหตุที่สัตว์นรกต้องโดนทุกทรมานในขุมนรก เช่น ในอดีตตอนที่เป็นมนุษย์ ได้เรี่ยไรทรัพย์ของคนอื่นโดย อ้างว่าจะนำไปทำบุญทำทานสร้างวิหารเป็นต้น แต่กลับนำทรัพย์นั้นไปใช้จ่ายตามความพอใจ ไม่ได้ทำบุญดังที่กล่าวไว้ ตายไปตกอังคารกาสุนรก (อัง-คา-ระ-กา-สุ-นะ-รก) อุสสุทนรกขุมที่ ๔ ซึ่งเป็นนรกที่มีนายนิรยบาลกำลังเอาอาวุธมีหอก ดาบ ค้อนเหล็กเป็นต้นที่ไฟกรดลามเลียอยู่ทิ่มแทงสัตว์นรก ไล่ตีสัตว์นรกให้ตกไปในหลุมถ่านเพลิง
ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
มีภิกษุอยู่รูปหนึ่งเป็นผู้ที่ชอบพูดจาโป้ปดอยู่เสมอ คำพูดอย่างหนึ่งแต่การกระทำอีกอย่างหนึ่งจนเป็นที่ระอาใจในหมู่ภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ภิกษุทั้งหลายได้พาภิกษุที่ชอบโกหกไปเข้าเฝ้าองค์พระศาสดาเพื่อให้พระองค์ได้ชี้แนะตักเตือน
ความบริสุทธิ์แห่งทาน
ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีลมีธรรมงาม ปฏิคาหกก็เป็นผู้ศีล มีธรรมงาม
ติวเข้ม"ครูสอนปริยัติธรรม" เสริมเทคนิคการสอนสมัยใหม่
มีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
อารามทูสกชาดก ชาดกว่าด้วยความฉลาดอันไม่เป็นประโยชน์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เดินทางเผยแผ่พระธรรมในที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งได้เสด็จไปที่แคว้นโกศล ครั้งนั้นมีภิกษุตามเสด็จไปด้วยมากมาย เมื่อองค์ศาสดาเดินทางมาถึงแคว้นโกศล ได้มีเศรษฐีผู้หนึ่งได้นิมนต์ให้พักที่บ้านของตน
ผู้ให้คือผู้ชนะ
ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวง
รักษาใจเพียงหนึ่งเดียว
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก ที่ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความปรารถนา เพราะจิตที่รักษาไว้ได้ดีแล้ว เป็นเหตุนำความสุขมาให้
ปล่อยวางให้พ้นใจ
การแบกที่หนักที่สุดคือการแบกจิตที่ไม่รู้จักปล่อยวาง การปล่อยวางถือเป็นคุณสมบัติของคนที่เข้มแข็ง และแข็งแกร่ง
ประเภทของสมาธิ