พุทธศาสนา ‘บูม’ ในรัสเซีย ชี้คำสอนพิสูจน์ได้จริง-เตรียมแปลพระไตรปิฎกรองรับ
อสาตมนต์ชาดก-ชาดกว่าด้วยมนต์มายาหญิง
ณ พระเชตะวันมหาวิหารกาลนั้น มีภิกษุสงฆ์ผู้ตกทุกข์ด้วยเหตุจากอิสตรีเข้ากวนกิเลสมิให้ดื่มด่ำธรรมรสได้ดุจเดิม กิเลสจากหญิงนั้นทำให้บุตรแห่งพระสมณโคดมรูปหนึ่ง มิเป็นอันบำเพ็ญภาวนา
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๑๖ ( ลี้ภัยการเมือง )
วันหนึ่ง เสนกะได้แอบปรึกษาหารือกับปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ ว่าทำอย่างไรจึงจะกำจัดมโหสถได้ มิเช่นนั้นพวกตน ก็จะเหมือนวัวแก่ที่ไม่มีค่าแก่การเทียมเกวียน เสนกะได้ออกอุบายด้วยการแอบไปลักขโมยพระจุฬามณีของพระราชา ให้ท่านปุกกุสะไปขโมยสุวรรณมาลา...
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - สักการะรอยพระพุทธบาท
ผลแห่งบุญนี้ น่าอัศจรรย์เหลือเกิน เราได้เห็นรอยพระบาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ทรงประทับรอยไว้ เป็นผู้มีใจร่าเริงโสมนัส ยังจิตให้เลื่อมใสในรอยพระบาท ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราไม่เคยไปสู่สุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการสักการะรอยพระพุทธบาท
มโหสถบัณฑิต ตอนที่ ๒๑ ( ผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา )
จากเรื่องนี้จะเห็นว่า โทษของการบอกความลับแก่คนอื่น โดยที่ยังไม่ถึงเวลาสมควรมีโทษถึงตายทีเดียว ก่อนพูดจาเราเป็นนายของคำพูด ครั้นพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายของเรา เพราะฉะนั้น ต้องฝึกเรื่องการพูดจาให้ดี เรื่องไหนควรพูด เรื่องไหนควรเก็บไว้เป็นความลับ ให้รู้จักเลือกให้ดี
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 20
“ใครหนอเป็นผู้แนะนำธรรมะสั่งสอนพระองค์ ถ้อยคำอันสะอาดนี้ เป็นถ้อยคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะข้าพระองค์มิเคยเห็นพระองค์ได้ตรัสกับสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วง ทุกข์ ซึ่งแนะนำหนทางสู่ความหลุดพ้นแก่พระองค์เลย”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 2
ผู้ที่เป็นใหญ่คุมกำลังอำนาจ พึงสังวรให้ดีว่า หากไม่ฝึกกองกำลังนั้นให้มีศีลธรรมตั้งมั่นอยู่ในใจ ไม่ฝึกให้เป็นคนที่มีระเบียบวินัย ในไม่ช้ากองกำลังของตนนั้นก็จะทำให้ตนเดือดร้อนจนได้ เหมือนที่พระโปลชนกทรงประสบอยู่ในขณะนี้
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ