มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อรกศาสดา
ในยุคสมัยที่มนุษย์มีอายุเฉลี่ย ๖๐,๐๐๐ ปี มีเจ้าลัทธิ ผู้เรืองปัญญาท่านหนึ่ง ชื่อ อรกะ เป็นเจ้าลัทธิผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีในกาม อร กศาสดามีสาวกหลายร้อยคน ท่านสอนสาวกเสมอว่า ดูก่อนพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ควรรีบทำบุญกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้ว จะไม่ตายนั้นย่อมไม่มี
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - สัตว์ร้าย รักษาอุโบสถ
สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยว หาอาหาร เห็นช้างตายอยู่ข้างทาง มันดีใจคิดว่า เป็นลาภลอยชิ้นใหญ่ของเราแล้ว จึงตรงเข้าไปกัดที่งวง แต่กัดไม่เข้า จึงเปลี่ยนไปแทะที่งา ก็รู้สึกเหมือนกับแทะแผ่นหิน กัดที่หาง ก็รู้สึกเหมือนกัดสากตำข้าว ครั้นกัดช่องทวารหนักก็รู้สึกว่า ได้กินเนื้อนุ่มๆ จึงเกิดติดใจมุดเข้าไปอยู่ข้างในท้องช้าง แล้วกัดกินเครื่องในอย่างเอร็ดอร่อย
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๒
ในวันที่๗ พระพุทธองค์เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วมาประทับยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ ราชสีห์ทราบว่าพระพุทธองค์ออกจากสมาธิแล้ว จึงทำประทักษิณ ด้วยการเดินเวียนขวารอบพระพุทธองค์ ๓รอบ เป็นการแสดงการเคารพนอบน้อมและเปล่งสีหนาทขึ้นด้วยเสียงดังกึกก้อง แทนการกล่าวสรรเสริญด้วยความเลื่อมใส
พระอรหันต์มีจริง
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว มีใจมั่นคง ไม่หวั่นไหว ปราศจากความอาลัยทั้งปวง พระอริยบุคคลเหล่านั้น บรรลุพระอรหันต์แล้ว เข้าถึงพระนิพพาน เสวยสุขอยู่ รัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้อยู่จบพรหมจรรย์
ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา เมตตคูก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทั้งวิชชา๓ วิชชา๘ อภิญญา๖ วิโมกข์๘ จรณะ๑๕ ท่านได้บรรลุหมด รู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในคำสอนของพระบรมศาสดา และได้บวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยพระพุทธองค์ได้เมตตาประทานการบวชให้
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
เส้นทางจอมปราชญ์ (๑)
ขุมทรัพย์คือบุญนั้น สามารถให้สมบัติที่น่าใคร่ทุกอย่างได้ มนุษย์และเทวดาทั้งหลายปรารถนาผลใด ผลทั้งปวงย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น
กัณฐกวิมาน
พระจันทร์มีรอยรูปกระต่ายในเดือนเพ็ญ ถูกหมู่ดาวแวดล้อม เป็นอธิบดีของหมู่ดาวทั้งหลาย ย่อมโคจรไปในอากาศ ฉันใด ทิพยวิมานนี้ก็ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีในเทพบุรี เหมือนดวงอาทิตย์กำลังอุทัย ดูก่อนเทพบุตร ท่านเป็นผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ยิ่งด้วยวรรณะ อยู่ในวิมานอันประเสริฐนั้น ดุจดวงอาทิตย์กำลังอุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่อาตมาเถิด
อุปสรรคของการเจริญภาวนา
เครื่องกังวลในการบำเพ็ญภาวนามี ๑๐ อย่าง คือกังวลด้วยอาวาส ตระกูล ลาภ กังวลเพราะหมู่คณะ การทำงาน การเดินทาง ญาติพี่น้อง กังวลด้วยเรื่องความเจ็บป่วยไข้ การศึกษาเล่าเรียน และอิทธิฤทธิ์