ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 19
นารทดาบสต้องการให้พระโพธิสัตว์สมาทานมั่น จึงถวายข้อคิดว่า “พระองค์ เพียงแต่ทรงเพศบรรพชิตนี้ จะสำคัญว่า เราข้ามพ้นกิเลสแล้วหาได้ไม่ กรรมคือกิเลสนี้ ไม่ใช่ว่าจะพึงข้ามได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะยังมีอันตรายอยู่มาก”
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 20
“ใครหนอเป็นผู้แนะนำธรรมะสั่งสอนพระองค์ ถ้อยคำอันสะอาดนี้ เป็นถ้อยคำของใคร ดูก่อนพระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เพราะข้าพระองค์มิเคยเห็นพระองค์ได้ตรัสกับสมณะผู้มีวัตรปฏิบัติก้าวล่วง ทุกข์ ซึ่งแนะนำหนทางสู่ความหลุดพ้นแก่พระองค์เลย”
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - รู้เท่าไม่ถึงการณ์ (๒)
คนพาลทำกรรมชั่วที่มีผลเผ็ดร้อน แล้วเดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี ไม่ควรกระทำ ส่วนบุคคลใดทำกรรมใดแล้ว มีหัวใจแช่มชื่นเบิกบาน ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้น เป็นความดี ควรทำ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - เป็นมนุษย์สุดประเสริฐ
การได้เกิดมาเป็นมนุษย์นั้น เป็นของยากเหลือเกิน จะต้องมีกำลังบุญมากพอ ถ้ากำลังบุญน้อยๆ มาเกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้ แต่ดูเหมือนว่า สิ่งที่ได้มาด้วยความยากลำบากนี้ เรามักใช้กันอย่างไม่ทะนุถนอม ใช้กันอย่างถล่มทลาย โดยไม่รู้คุณค่าของกายมนุษย์ ว่าสำคัญแค่ไหน
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๓)
จากเรื่องนี้ เราจะเห็นได้ว่า แม้เราจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ที่สุด ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้ว ฉะนั้น การเข้าใจผิดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย และพร้อมจะเกิดขึ้นเสมอในสังคมโลกปัจจุบัน เรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้ พวกเราทุกคนควรนำไปเป็นข้อคิดว่า
มงคลที่ 38 - จิตเกษม - ผู้มีจิดเกษม
เครื่องผูกมัดเหล่านี้เปรียบเหมือนเชือกสี่เกลียว ที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น สัตวโลกต้องพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุด จิตจึงไม่พบกับความเกษมสำราญ มีสุขมีทุกข์คลุกเคล้ากันไป สุกๆดิบๆ จะหาสุขจริงๆนั้น ยังหาไม่พบ มีแต่หลงเพลิดเพลินไปวันๆ สภาวะของจิตเกษมจึงไม่เคยพบเจอไม่เคยรู้จัก
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ตอบปัญหาธรรมะ
ครั้งนั้น มีลูกของเศรษฐีได้สนทนากันในเรื่องที่ว่า ทำอย่างไรจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่รู้วิธี จึงได้ชักชวนกันออกแสวงหาธรรมะกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เมื่อได้รับการแนะนำจากอาจารย์ให้มาถามปัญหาธรรมะกับพระบรมศาสดา จึงพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
ทำไมคนเราชอบทำความผิด ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดี - หลวงพ่อตอบปัญหา
ทำไมคนเราถึงชอบทำความผิด ทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี และจะแก้ไขได้อย่างไร,ถ้ามีญาติหรือเพื่อนมาขอยืมเงิน เราจะวางตัวอย่างไรดี
พิธีมอบประกาศนียบัตรพระอภิธรรม ประจำปี 2553
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร แด่ผู้จบอภิธรรมมหาบัณฑิตและนักศึกษาที่สอบอภิธรรมผ่านทุกชั้นในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2553
อรหัตตภูมิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยอภิญญาของตนเอง เข้าถึงทิฏฐธรรมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้คือสมณะที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา