มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - วจีกรรมนำสู่นิพพาน
เราเป็นผู้มีปกติกล่าวสรรเสริญพระชินวรเจ้าทุกเมื่อ เพราะ กรรมนั้น เราจึงเป็นผู้มีร่างกายและกลิ่นปากหอม เพียบพร้อมด้วยความสุขมีปัญญากล้า มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาไว มีปัญญามากและมีปฏิภาณอันวิจิตร
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - อย่าอาฆาตกันเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าว่าแต่พระเจ้าสุปปพุทธะ จะขึ้นไปอยู่บนปราสาทชั้น ๗ และมีทหารกำยำล่ำสันเฝ้ารักษาประตูอยู่เช่นนี้เลย แม้จะมีฤทธิ์เหาะไปได้ในอากาศ หรือจะทรงหนีไปทางมหาสมุทร หรือจะทรงหนีเข้าไปในซอกเขา ก็จะต้องถูกแผ่นดินสูบที่เชิงบันไดของปราสาทนั่นแหละ เพราะถ้อยคำของตถาคตไม่เป็นสอง เรากล่าวอย่างไร ย่อมเป็นอย่างนั้น
ชัยชนะครั้งที่ 1 (ตอนที่ 2 ชนะพญามาร)
เราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปในสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเรา ถึงวิสังขารคือพระนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้...
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 5 พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
จันทกุมารบําเพ็ญขันติบารมี (4)
สัตบุรุษทั้งหลายบรรเทาความทุกข์อันยากที่จะอดทนได้ด้วยความสุข เพราะเป็นผู้มีจิตเยือกเย็นยิ่งนัก ในความสุข และทุกข์ทั้ง ๒ อย่าง ย่อมเป็นผู้มีจิตเป็นกลาง ทั้งในความสุขและทุกข์
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (6)
บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่ได้ ส่วนบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ถึงจะมีทรัพย์ แต่ก็ไม่อาจเป็นอยู่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่งที่ตนได้ฟังมา เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชนในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_4
ดูก่อนสุเมธดาบส ท่านจงสมาทานศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นผู้มีศีลบารมี หากท่านปรารถนา เพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ หางจามรีคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ถ้าปลดขนหางออกไม่ได้ มันก็ยอมตายในที่นั้น แม้ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ในภูมิทั้งสี่ อย่าได้เห็นแม้แก่ชีวิต รักษาเฉพาะศีลเท่านั้นในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาขนหางด้วยชีวิต ฉันนั้นเถิด
มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม - ผู้มีจิตมั่นคง
ครั้นเวลาเช้า พระภิกษุสงฆ์มีพระเถระทั้งสองเป็นประมุข ได้ออกบิณฑบาตไปตามถนน แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่บ้านของนางนันทมารดาซึ่งได้จัดเตรียมไว้เป็นอย่างดี เมื่ออังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว นางก็เข้าไปนั่งสนทนา เล่าเรื่องที่ได้สนทนากับท้าวเวสสวัณเมื่อรุ่งอรุณให้พระเถระทั้งสองฟัง
อานิสงส์เอาของหอมฉาบทากุฏิ
บุคคลใดเอาของหอมทาพื้นพระคันธกุฎี ด้วยผลของกรรมนั้น ไม่ว่าเขาจะเกิดในชาติใดๆ จักเป็นผู้มีกลิ่นกายหอมทุกชาติไป จักเป็นผู้เจริญด้วยกลิ่นคือคุณแห่งศีล จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะแล้วจักปรินิพพาน เพราะกรรมที่ทำไว้ดีนั้น และเพราะการตั้งเจตจำนงไว้
โทษของผู้รังแกสมณะ
ความจริง บาปที่ตนทำแล้ว อันเกิดจากตน ที่มีตนเป็นแดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคล ผู้มีปัญญาทราม เหมือนเพชรย่ำยีแก้วมณีที่เกิดแต่หิน ฉะนั้น