รุกขธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยต้นไม้โดดเดี่ยวย่อมแพ้ลม
ในพุทธกาลครั้งหนึ่งได้เกิดเหตุร้าวฉานแตกสามัคคีถึงขั้นกลียุคขึ้นระหว่างเมืองพระญาติของพระพุทธเจ้า เหตุปัจจัยนั้นคือการแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีที่พระอานนท์ตักถวายในห้วงเวลาก่อนเสด็จปรินิพพาน แม่น้ำสำคัญสายนี้เป็นพรมแดนกั้นกลางระหว่างนครกบิลพัสดุ์และเทวทหะ
ปัณฑรกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษการเปิดเผยความลับแก่ผู้อื่น
ปลายพุทธกาลวาระหนึ่ง เมื่อภิกษุในธรรมสภาปรารภถึงพระเทวทัตเถระซึ่งถูกทรณีสูบลงไปยังยมโลกเหตุเพราะก่อพุทธประหาร เทวทัตซึ่งนับเป็นพระญาติอันมากด้วยริษยาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นี้ทรยศหักหลังมิตร
มหานรก ๘ ขุม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการ คือ บุคคลผู้มีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้ที่ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้เหมือนถูกโยนลงในนรก
กุสนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยประโยชน์ของการคบมิตร
ณ บ้านมหาเศรษฐี นามอนาถบิณฑิกะ ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้คบหากับมิตรผู้ที่ฐานะต่ำต้อยกว่า และได้แต่งตั้งให้บุรุษผู้นั้นเป็นผู้ดูแลสมบัติทั้งหมดของตน เหล่าบรรดาญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะต่างแสดงความไม่พอใจ และขอให้ท่านเศรษฐีเลิกคบหากับมิตรผู้นั้น
พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร
กาลครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยังพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถี พระองค์ได้หยั่งรู้ถึงความทุกข์กายทุกข์ใจของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรรูปหนึ่งที่ไม่อาจแสวงหาโลกธรรมได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง
ทุมเมธชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้อำนาจให้เป็นประโยชน์
วสันตฤดูครั้งนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับมาพักผ่อนพระวรกาย หลังจากตรากตรำเผยแผ่พระศาสนามาเนิ่นนาน โดยไม่ย่อท้อต่อความทุรกันดารและอุปสรรคใดๆ พระเกียรติคุณนี้เป็นที่สรรเสริญกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธบริษัท พระพุทธองค์ทรงใช้วาระนั้นปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก
วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
เวฬุกะชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการเป็นผู้ว่ายากสอนยาก
ครั้งอดีตกาล ณ พระเชตะวัน มหาวิหารอันสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนาได้เกิดเรื่องราวมิงามของภิกษุผู้ว่ายากอยู่ท่านหนึ่ง ไม่ว่าใครจะว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรก็ตามท่านก็มิเคยฟัง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกรุณาธิคุณให้ภิกษุรูปหนึ่งเข้าเฝ้า เพื่อปลดโทษให้
มิตตวินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาข้อตัณหาอันเป็นสิ่งกว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด ณ พระเชตะวันมหาวิหารในนครหลวงแห่งมคธรัฐ พุทธวัจนในพระธรรมบทนี้ได้รับการจดจำต่อๆ กันว่าชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นก็เช่นผู้ถูกจักรกรดไว้
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น