ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน
ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด
หมู่คนพาล
หากแสวงหาไม่พบเพื่อนที่ดีกว่าตน หรือเพื่อนที่เสมอกับตน ก็พึงเที่ยวไปคนเดียว เพราะมิตรภาพ ไม่มีในหมู่คนพาล
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้ เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด
จิต
คำว่า " จิต " ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง สภาพรู้ อาการรู้ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และคำว่า จิตนี้ยังมีชื่อที่ใช้แทนคำว่าจิตในบางแห่งอีกมาก เช่น ใจ มโน มานัส ปัณฑระ หทัย วิญญาณวิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันของเรา จะทราบได้ว่าผู้ที่ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีจิตเกิดดับต่อเนื่องไปจนกว่าจะตาย ฉะนั้น จิตคือ สภาพรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้ (กามคุณ) เพลินอยู่
ผู้ที่มัวเก็บดอกไม้(กามคุณ)เพลินอยู่มีจิตใจข้องอยู่แต่ในกามคุณไม่รู้จักอิ่มมักตกอยู่ในอำนาจมฤตยู
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท
ผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คือไม่มัวเมาในวัย ในอายุ และไม่มัวเมาในชีวิต ไม่เลินเล่อ ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น ในเมื่อบุคคลอื่นประมาท คือมัวเมาในวัยในอายุ และมัวเมาในชีวิต ทำให้เกิดความสะเพร่าเลินเล่อ ขาดสติสัมปชัญญะ ทำอะไรก็ผิดพลาด ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะผู้ประมาทนั้น ย่อมประสบแต่ความพินาศ แต่บุคคลผู้มีปัญญาดีนั้นไม่ประมาท ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ในเมื่อผู้อื่นประมาทและหลับอยู่ ย่อมละทิ้งบุคคลผู้โง่นั้นไป เหมือนม้าที่มีฝีเท้าดี ย่อมวิ่งไปได้เร็ว ละทิ้งม้าตัวที่ไม่มีกำลังไปฉะนั้น
คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ
คนพาล ถึงจะบำเพ็ญตบะ โดยเอาปลายหญ้าคาจิ้มอาหารกิน ทุกเดือน การปฏิบัติของเขาไม่เท่าหนึ่งในสิบหกส่วน ของการปฏิบัติของท่านผู้บรรลุธรรม
ปัญญาชน คบบัณฑิต
ปัญญาชน คบบัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว ก็พลันรู้แจ้งพระธรรม เหมือนลิ้นรู้รสแกง
กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง
กรรมใดทำแล้วทำให้เดือดร้อนภายหลัง อีกทั้งทำให้ร้องไห้น้ำตานอง รับสนองผลของการกระทำ กรรมนั้นไม่ดี
กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง
กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนภายหลัง ทั้งผู้กระทำก็เบิกบานสำราญใจ ได้เสวยผลของการกระทำ กรรมนั้นดี