ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ
ราตรีนาน สำหรับคนนอนไม่หลับ ระยะทางโยชน์หนึ่งไกล สำหรับผู้ล้าแล้ว สังสารวัฎยาวนาน สำหรับคนพาล ผู้ไม่รู้แจ้งพระสัทธรรม
ธรรมะกับพระบาลียศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ
ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท
ธรรมะกับพระบาลีคนที่ท่องจำตำราได้มาก แต่มัวประมาทเสีย
คนที่ท่องจำตำราได้มาก แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา
ธรรมะกับพระบาลีกามคุณ
กามคุณ หมายถึง สิ่งที่น่าปรารถนา ชวนให้รักชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัดยินดี มี 5 ชนิด คือ รูป (สิ่งที่ตามองเห็น) เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่กายสัมผัส) กามคุณ 5 นี้เป็นอารมณ์ คือสิ่งที่ยึดดึงใจให้ปรารถนา ให้รักใคร่ เป็นต้น จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กามารมณ์" แปลว่า อารมณ์คือกามคุณ ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ทางเพศเพียงอย่างเดียว
ธรรมะกับพระบาลีผู้มีสติ
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็จะได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าเมื่อตา มองเห็นรูปก็เป็นธรรมะ หูได้ยินเสียงก็เป็นธรรมะ จมูกได้กลิ่นก็เป็นธรรมะ ลิ้นได้รสก็เป็น ธรรมะ ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ นึกขึ้นได้เมื่อใดเป็นธรรมะเมื่อนั้น ฉะนั้น ผู้มีสติจึงได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน มันมี
ธรรมะกับพระบาลีปราศจากวิญญาณ
วิญญาณ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่หมายถึง วิญญาณล่องลอยที่เป็นผี แต่หมายถึงสภาพธรรมที่รู้อารมณ์ คือ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เรียกว่าวิญญาณ คือ จิต ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงวิญญาณก็คือสภาพธรรมที่เป็นจิต วิญญาณหรือ จิตจึงมีหลายประเภทเช่น จักขุวิญญาณ หรือ จิตเห็น โสตวิญญาณ หรือ จิตได้ยิน ดังนั้นเมื่อวิญญาณหรือจิตเกิดขึ้น เป็นสภาพรู้ ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ เช่น จิตเห็น(จักขุ วิญญาณจิต) เมื่อเกิดขึ้นก็ต้องมีสิ่งที่ถูกเห็นคือ สี เป็นต้น
ธรรมะกับพระบาลีผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ มีความคิดเห็นชอบ ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ
ธรรมะกับพระบาลีคนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้ คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น
ธรรมะกับพระบาลีมีสติ ด้วยปัญญา
สติทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่มีสมาธิเป็นฐานนั้นจะมีพลังมากมีอานิสงส์มาก พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เพราะปัญญา แต่กว่าจะตรัสรู้ได้ พระพุทธเจ้าต้องเจริญสติบำเพ็ญสมาธิ เพราะฉะนั้นฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบันอย่าใจลอย ใจต้องอยู่กับเรื่องเฉพาะหน้า ที่ต้องทำ ท่านจะมีสมาธิ แล้วสมาธินั้นทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่นำมาใช้ในชีวิต ประจำวัน เรียกว่าสัมปชัญญะ สัมปชัญญะก็คือปัญญาเฉพาะเรื่องนั่นเอง ปัญญาคือความรอบรู้ ส่วนสัมปชัญญะ ก็คือความรู้ชัดรู้จริงที่นำมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนั้นได้ ถ้าสติไม่มาปัญญาก็ไม่เกิด สติมา ปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา
ธรรมะกับพระบาลีปราสาทคือปัญญา
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา
ธรรมะกับพระบาลี