กกัณฏกชาดก ชาดกว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์
พระราชาได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน ก็ทรงมองหาเจ้ากิ้งก่าตัวนั้น “ มโหสถ เจ้ากิ้งก่าตัวนั้นมันหายไปไหนสะแล้วล่ะ ” “ มันอยู่บนเสานั้นแหละพระเจ้าค่ะ ” เจ้ากิ้งก่านั้น แม้เห็นว่าพระราชาทรงเสด็จมา ก็ไม่ได้ลงจากปลายเสาค่าย เพื่อทำความเคารพพระราชาเช่นเดิม ด้วยเพราะมันเข้าใจว่าตนเองมีทรัพย์เสมอพระราชา มันจึงทำตนเสมอพระราชาด้วย
สาลิยชาดก ชาดกว่าด้วยหมอผู้โชคร้าย
หมอพิการคนหนึ่ง ได้วางแผนให้เด็กน้อยลูกพ่อค้าปีนต้นไม้ไปเอาลูกนกสาลิกาในโพรงไม้ ซึ่งความจริงแล้วมีงูอยู่ในโพรงไม้นั้น เด็กน้อยหลงเชื่อปีนขึ้นไป เด็กน้อยจับหัวงูได้ก็เหวี่ยงทิ้งทันที ด้วยบุพกรรมที่ทำร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน เด็กน้อยลูกพ่อค้าเหวี่ยงงูเห่ามาทางหมอพิการพอดี งูพิษพันคอหมอพิการ แล้วฝังคมเขี้ยวฉีดพิษร้าย หมอพิการดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน มิสามารถเยี่ยวยาได้ทัน
สัพพาทาฐิชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้
ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระเจ้าพรหมทัตได้ฝึกซ้อมสาธยายมนต์ที่ชื่อว่า ปฐวีวิชัยมนต์ ปรากฎว่ามีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งแอบได้ยินและสามารถจดจำมนต์นั้นได้ และคิดการใหญ่โดยได้ยกกองทัพสัตว์เดรัจฉานหมายทำการรบกับพระเจ้าพาราณสีหวังจะแย่งชิงราชบัลลังค์
หุ่นยนต์ คน แรงงาน
หุ่นยนต์เล่นหมากรุก หุ่นยนต์สัตว์เลี้ยงช่างดูน่ารัก แล้วถ้าหุ่นยนต์เริ่มทำงานแทนคนยังน่ารักอยู่หรือไม่
นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว
“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ”
ปัญจภีรุกชาดก ชาดกว่าด้วยความสวัสดี
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระสูตรว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา ณ อัชปาลนิโคตธ
โกสิยชาดก ชาดกว่าด้วยถ้อยคำกับการกินไม่สมกัน
นางโกสิยพราหมณี ซึ่งเป็นหญิงที่มีนิสัยหยาบช้า ลามก มักมากในกาม นางนั้นหลุ่มหลงอยู่ในกามราคะ ประพฤติผิดประเวณี คบชู้สู่ชายและมักใช้เล่ห์กลมารยาแกล้งป่วย ไม่ทำการงาน ให้พราหมณ์หนุ่มผู้เป็นสามีบำรุงบำเรอด้วยอาหารที่ดีและปราณีตอยู่เป็นประจำ
มณิโจรชาดก ชาดกว่าด้วยพระเจ้าอธรรมิกราช
พ้นพรรษาฤดูหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร อันพระเจ้าพิมพิสารถวายให้ พระองค์ทรงปรารภ พระเทวทัตผู้พยายามปลงพระชนม์แก่ภิกษุสงฆ์ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเทวทัตพยามยามฆ่าเรา ใช่ว่าแต่ครั้งนี้ก็หาไม่ แม้ครั้งก่อนก็พยามยามฆ่าเรามาแล้ว”
นิโครธมิคชาดก ชาดกว่าด้วยการเลือกคบ
นิโครธมิคชาดก บางครั้งการเคร่งครัดต่อกฏระเบียบข้อบังคับมากเกินไปจนลืมนึกถึงเหตุและผลที่สมควร ก็กลับกลายเป็นเรื่องที่ขาดคุณธรรมไปได้ ติดตามเรื่องราวการปกครองเหล่าบริวารของพญากวางสาขะและพญากวางนิโครธะ ชึ่งให้ข้อคิดและสามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ เหตุการณ์ในปัจจุปันได้
โรมชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยอาชีวกเจ้าเล่ห์
ในพุทธกาลสมัยนั้น มีเรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้น และมีผลกรรมเกี่ยวต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาต่างกรรมต่างวาระกัน การแตกแยกของหมู่สงฆ์อันเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่เกิดขึ้นในแคว้นมคธ ซึ่งนับเป็นกรรม เป็นวิบากกรรมของพระเทวทัตที่ตามจองเวรต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า