กุหกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดดีได้เงินได้ทอง
เศรษฐีได้นำทองคำไปฝังไว้ใกล้ๆ บรรณศาลาของดาบส และได้ฝากฝังดาบสให้เป็นผู้ดูแลทองคำนั้น ดาบสปลอมหรือชฎิลโฏงได้ถือโอกาสขุดเอาทองคำของเศรษฐีในยามค่ำคืนไปแอบซ่อนไว้ที่อื่นจนหมดสิ้น
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ขาดความเคารพ พบความพินาศ
วันหนึ่ง ลูกสาวของช่างทอหูกออกจากบ้านไปเก็บดอกบัวที่สระน้ำ เก็บดอกบัวไปพลาง ร้องเพลงไปพลาง สามเณรเหาะไปใกล้บริเวณสระบัวแห่งนั้น เกิดติดใจเสียงขับร้องของนาง กามราคะที่ข่มไว้ด้วยอำนาจฌานสมาบัติก็ฟูขึ้นท่วมทับจิตใจ ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรก็เสื่อม ไม่อาจเหาะได้ ดุจกาปีกหัก
ฆตบัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยความดับความโศก
ณ บ้านหลังหนึ่งในเชตวัน สาวัตถี กุฎุมพีเจ้าของบ้านได้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ เป็นอันมากเนื่องจากบุตรชายอันเป็นที่รักของเขาได้ตายจากไป ความเศร้าเสียใจของชายผู้นี้กินเวลาเนิ่นนาน วันเดือนปีจะผ่านพ้นไปเพียงใด เขาก็ยังไม่สามารถทำใจได้
มัจฉทานชาดก ชาดกว่าด้วยการให้ข้าวเป็นทานแก่ปลา
เมื่อมานพผู้พี่เอาเศษอาหารให้ปลาแล้ว ก็ตั้งจิตอธิษฐานอุทิศส่วนกุศลให้แก้เทพยดาฟ้าที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำแห่งนี้ ส่วนเทวดาผู้รักษาน้ำได้อนุโมทนารับส่วนกุศล ที่มานพผู้พี่อุทิศมาให้ ลาภยศอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดขึ้นแก่ตน พ่อค้าผู้พี่เมื่ออุทิศส่วนกุศลเรียบร้อยแล้วก็เอาผ้าห่อปูริมแม่น้ำลงนอนพักหลับไป
ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
มีนกจำนวนมากอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ริมสระน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งในสระมีพญานาคที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ฝูงนกจำนวนมากได้ขับถ่ายลงไปในสระน้ำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของความหายนะที่ได้เกิดขึ้นกับฝูงนกเหล่านั้น
ติดตามพระศาสดาเพื่ออะไร
ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อฟังสุตตะ เคยยะและไวยากรณ์เลย นั่นเพราะเหตุไร
กัจฉปชาดก ชาดกว่าด้วยลิงสัปดน
เป็นเรื่องของลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่ง ที่ชอบกลั่นแกล้งผู้อื่น วันหนึ่งมันได้แกล้งเจ้าเต่า โดยได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่าซึ่งหลับอยู่ ลำดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับองคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุคฉะนั้น เวทนาอย่างแรงเกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้
มโนชชาดก-ชาดกว่าด้วยคบคนชั่วไม่ได้ความสุขที่ยั่งยืน
สมัยนั้นมีสหายสองคนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันและกันอยู่เสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่ออกบวชในสำนักพระศาสดาต้องปฏิบัติกิจสงฆ์ออกบิณฑบาต ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ ส่วนภิกษุที่บวชในสำนักของพระเทวทัตนั้นไม่ต้องออกไปบิณฑบาต เพราะจะมีคนจัดสำรับไว้ให้ในโรงฉันเรียบร้อย
พระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้รัตตัญญู (๒)
พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ก่อนใคร เป็นผู้มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข อันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดที่พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้นทุกอย่าง พระอัญญาโกณฑัญญะเถระผู้ไม่ประมาท ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ เป็นผู้มีอานุภาพมาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็นธรรมทายาทของพระพุทธองค์ มีปกติกราบไหว้ซึ่งพระบาททั้งสองของพระศาสดา
กามชาดก ชาดกว่าด้วยกามและโทษของกาม
ครั้งนั้นเมื่อองค์พระศาสดาทรงประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภกับพราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง เขาผู้นี้ได้ทำการหักร้างป่าเพื่อต้องการทำเป็นไร่ พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี