นักวิชาการเตือนฟ้าผ่า! ไม่ได้เกิดจากโลหะสื่อล่อฟ้า
สีลวนาคชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ดื้อรั้นว่ายาก
อาจารย์นักกระโดดข้ามหอกผู้ดื้อรั้น ผู้ไม่ยอมรับฟังคำเตือนของใคร แม้แต่ศิษย์ที่รักและหวังดีต่อเขา และด้วยความอวดดี ดื้อดึงของเขา เลยทำให้เขาพบจุดจบลงอย่างน่าอนาถ
ตินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยเรื่องอุบายหนีตาย
ในสมัยพุทธกาลองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหารเผยแผ่ธรรมะคำสอนให้แก่เหล่าพุทธสาวกได้ซึมซับในพระธรรมคำสอน ด้วยพระปัญญาบารมีของพระองค์ได้ทำให้เหล่าภิกษุในพระเชตวันต่างรู้สึกเลื่อมใสและเคารพนับถือเป็นยิ่งนัก
พกชาดก-ชาดกว่าด้วยบาปกรรมของผู้ฉลาดแกมโกง
พระเชตะวันมหาวิหาร ณ เวลาในพุทธกาลสมัยหนึ่งยังมีพระภิกษุผู้มีศิลปะในการตัดเย็บ ย้อมสี ปะ ชุนจีวร ฝีมือดีจนเป็นที่ยอมรับในหมู่สงฆ์ ภิกษุรูปนี้ชาญฉลาดในการทำจีวรให้งาม ภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันขนานนามตามความหมายนั้นว่า พระจีวรวัฒฑกะ
คิริทัตตชาดก-ชาดกว่าด้วยการเอาอย่าง
สมัยนั้นมีสหายสองคนเป็นชาวเมืองราชคฤห์ สองสหายนั้นคนหนึ่งบวชในสำนักพระศาสดาอีกคนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมได้พบเห็นกันเสมอ แม้ไปวิหารก็ยังได้พบเห็นกัน ภิกษุที่บวชในสำนักพระศาสดาเมื่อบวชแล้วต้องปฏิบัติกิจสงฆ์อยู่เป็นนิจ ต่างจากสหายที่บวชในสำนักพระเทวทัตที่ไม่มีกิจใดที่พึงต้องทำ
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
กุมมาสปิณฑชาดก ชาดกว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยในการแย้มสรวลของพระองค์ ” “ ดูกร อานนท์ กุมาริกาผู้นี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแห่งการถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้ ”
สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
แม่น้ำสายเล็กๆ ซึ่งเป็นแดนกั้นระหว่างเมืองกบิลพัสด์ุและเมืองเทวทหะได้เหือดแห้งลง เป็นเหตุให้ผู้คนทั้งสองเมืองเกิดการทะเลาะวิวาทแย่งน้ำกัน จนเกิดเป็นศึกสงครามระหว่างเมืองทั้งสองเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จมาห้ามทัพทั้งสองฝ่ายเอาไว้
เทวธรรมชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของเทวดา
“ดูก่อนภิกษุในศาสนาของเรานี้ ล้วนสรรเสริญคุณของความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ รักสงบ เพียรผลาญกิเลสให้สิ้นไปมิใช่หรือ? แล้วทำไมท่านกลับถึงทำสิ่งไม่ควรเช่นนี้เล่า” พระภิกษุเจ้าสำรวย ได้ฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แทนที่จะสำนึกผิดกลับบันดาลโทสะ ประชดประชัน ทำสิ่งมิควรอีก
คุณชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตรธรรม
ครั้นหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ราษฎรใกล้ไกลล้วนศรัทธาพระพุทธศาสนาหลั่งไหลหารมาฟังธรรมเจริญภาวนาอยู่ไม่ว่างเว้น พระเทวีทั้ง 500 นางของพระเจ้ากรุงโกศลเองก็เช่นกัน แม้จะไม่ได้ออกมานั่งฟังธรรมอย่างคนอื่นๆได้ แต่ก็ได้นิมนต์พระอานนท์ไปเทศนาธรรมที่ในวัง เมื่อพระเทวีฟังธรรมจากพระอานนท์จบแล้วก็เกิดความเลื่อมใสถวายผ้าสาดกที่ได้รับมารวมทั้งหมด 500 ผืน