บวชสามเณรล้านแจ๋วจริงๆ เมื่อเณรพบพระภายใน
วันนี้เราไปติดตามข่าวสว่าง เมื่อคณะสงฆ์ทั่วไทยพร้อมใจคืนความสุขให้ชุมชนทั่วประเทศด้วยการบวชสามเณรหนึ่งล้านรูป แต่ละจังหวัดจัดพิธีแห่นาคธรรมทายาทกันอย่างยิ่งใหญ่
บทสวดมนต์พาหุงมหากา พร้อมคำแปล
บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) บทสวดชัยปริตร พร้อมคำแปล วิดีโอนำสวดพาหุง พร้อมภาพประกอบ
พิธีอุปสมบทหมู่อุทิศชีวิตสามเณรเปรียญธรรม 12 รูป ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2558
ทางสายกลางเส้นทางตรัสรู้ของพระพุทธองค์
วันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นับเป็นวันสำคัญที่มหาบุรุษ เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรทางจิต ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการดำเนินจิตตามทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา
บูชายัญ บูชายัญคืออะไร บูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
บูชายัญคืออะไร คนเราจะโชคดีจากการเข่นฆ่า ทำร้ายผู้อื่น บูชายัญได้หรือไม่ การบูชายัญในทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
เวสารัชชธรรม ๔
พระพิชิตมารผู้ถึงที่สุดโลก ทรงทำโลกทั้งหลายให้ยินดีด้วยพระรัศมี พระองค์ยังดอกปทุม คือ เวไนยสัตว์ให้บานด้วยพระดำรัส ทรงสมบูรณ์ด้วยเวสารัชชธรรม ๔ เป็นอุดมบุรุษ ละความกลัวและความยินดีได้เด็ดขาด ทรงถึงธรรมอันเกษม องอาจกล้าหาญ พระผู้เลิศในโลก ทรงปฏิญาณซึ่งฐานะของผู้องอาจและพุทธภูมิทั้งสิ้น ไม่มีใครจะทักท้วงได้ในฐานะไหนๆ
ธัมมัสสวนมัย จิตผ่องใสได้ฟังธรรม
“ภิกษุทั้งหลาย เวลาที่ทรงคุณค่าที่บุคคลให้เป็นไปโดยชอบแล้วย่อมทำให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ เวลาที่ทรงคุณค่า 4 อย่าง คือเวลาฟังธรรมตามกาล เวลาสนทนาธรรมตามกาล เวลาทำความสงบของใจและเวลาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้แจ้ง” (ทุติยกาลสูตร)
สรรเสริญพระรัตนตรัยปลอดภัยทุกชาติ
เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ฝึกพระองค์แล้ว แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ผู้ฝึกตน จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส และได้กล่าวชื่นชมพระองค์ผู้นำของโลกว่า พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นเราผู้มีจิตเลื่อมใส ประทับยืนท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า พราหมณ์ใด ยังความร่าเริงให้เกิดขึ้นแล้ว สรรเสริญเรา พราหมณ์นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป
พิจารณาปล่อยวางในขันธ์ ๕
ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว ล้วนมีความแตกสลายเป็นที่สุดฉันนั้น