สำรวมจิตเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยาก ที่ละเอียดอ่อน มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เพราะว่าจิตที่คุ้มครองดีแล้ว นำสุขมาให้
เพื่อนพ้องพี่น้องกัน
ท่านทั้งหลายจงเห็นการทะเลาะวิวาทกันว่า เป็นเหตุแห่งภัย และเห็นการไม่วิวาทกันว่า เป็นความเกษมสำราญแล้ว พึงเป็นผู้พร้อมเพรียง มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุสาสนี
บัณฑิตควรตักเตือนกัน
คนเราควรเตือนสติกัน ควรแนะนำกัน และควรห้ามปรามกันจากอกุศลกรรม คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
รีบทำเสียเถิดก่อนจะสายเกินไป
บุคคลใดไม่คำนึงถึงหนาวร้อน อดทนให้เหมือนหญ้า ทำกิจที่ควรทำด้วยเรี่ยวแรงของลูกผู้ชาย บุคคลนั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข
บุญเท่านั้นที่ปรารถนา
บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญความไม่ประมาทในการสั่งสมบุญ เพราะผู้ไม่ประมาทย่อมยึดเอาประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบันนี้และประโยชน์ในสัมปรายภพ
โลกุตตรภูมิ
ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพาน ทางอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน และปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน อนึ่ง สัตว์ปฏิบัติประการใด ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เราตถาคตย่อมรู้ชัด ซึ่งประการนั้นด้วย
เปรต ๑๒ ตระกูล (๒)
พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา ทายกทายิกาทั้งหลาย เปรียบด้วยชาวนา ไทยธรรมเปรียบด้วยพืช ผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมแก่ปฏิคาหก พืชนาและการหว่านพืชนั้น ย่อมให้เกิดผลแก่ทายกและเปรตทั้งหลาย เปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผล แห่งการอุทิศส่วนบุญนั้น ทายกย่อมเจริญด้วยบุญ ทายกทำกุศลในโลกนี้แล้ว อุทิศให้เปรตทั้งหลาย ครั้นทำกรรมดีแล้วย่อมไปสวรรค์
ยมโลก สถานที่พิจารณาบุญและบาป
นรชนเหล่าใดเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ ถูกเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ นรชนเหล่านั้นจะเข้าถึงหมู่สัตว์อันเลวทราม ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 4
ในวันนี้เราจะได้มาศึกษาถึงประวัติย่อของพระภิกษุผู้เป็นต้นบุญต้นแบบที่เป็นเอตะทัคคะ หรือมีความเป็นเลิศทางด้านการถือธุดงควัตรกัน
บุพกรรมของพระพุทธเจ้าตอนที่ ๑
บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ ถึงจะหนีไปทางอากาศ ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็พ้นจากกรรมชั่วไปไม่ได้ หนีเข้าไปในซอกเขาก็ไม่พ้นจากกรรมชั่วไปได้ บุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใดพึงพ้นจากบาปกรรม ส่วนแห่งภาคพื้นนั้น ย่อมไม่มี