ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 192
ในพระนครปัญจาละนั่นเอง มีนักบวชหญิงคนหนึ่งเป็นบัณฑิต ฉลาดในอรรถและธรรม นามว่า พระแม่เภรี ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าจุลนีในฐานะนักบวชประจำราชสกุล อยู่มาวันหนึ่ง พระแม่เภรีเข้ามาฉันในวังตามปกติ ครั้นเสร็จภัตกิจแล้ว ก็เดินออกจากวังด้วยท่วงทีสำรวม เป็นเวลาพอดีกับที่มโหสถกำลังจะขึ้นเฝ้าพระเจ้าจุลนี
ธรรมทายาทอุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน ระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 40
การเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์นั้น มิใช่มีเพียงปริญญา แต่ควรที่จะศึกษาวิชาในการดำเนินชีวิต ควบคู่กันไปด้วยความรู้ทางโลกล้วนมุ่งเน้นเพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต เท่านั้น ซึ่งยังขาด
ความปรารถนาของบัณฑิต
บุคคลควรคบหากับสัตบุรุษ ควรทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะเมื่อบุคคลรู้ทั่วถึงธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ขอเชิญร่วมพิธีตัดปอยผมธรรมทายาท ระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 41 (โครงการ 2)
ขอเรียนเชิญ สาธุชนทุกท่านเข้าร่วมพิธีตัดปอยผมธรรมทายาทโครงการอบรมธรรมทายาท อุปสมบทหมู่ ระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 41 โครงการ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2556 เวลา 16.00-17.00 น. ณ ศูนย์อบรมธรรมทายาท อาคารแจ่มจันทร์ วัดพระธรรมกาย
พิธีตัดปอยผมธรรมทายาท ระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 41
วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี จัดพิธีตัดปอยผมธรรมทายาทในโครงการอุปสมบทหมู่ธรรมทายาท ระดับอุดมศึกษา รุ่นที่ 41
พระสุภูติเถระ
ท่านจงเจริญพุทธานุสติอันยอดเยี่ยมกว่าภาวนาทั้งหลาย ครั้นเจริญพุทธานุสตินี้แล้ว จักยังมนัสให้บริบูรณ์ จักรื่นรมย์ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นจอมแห่งเทวดาเสวยเทวสมบัติถึง ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในแว่นแคว้น ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับมิได้ จักได้เสวยสมบัตินั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการเจริญพุทธานุสติ
ปราสาทคือปัญญา
ความประมาทนั้นสามารถบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท คือค่อยๆ ถ่ายถอนความประมาทออกทีละน้อย แล้วเพิ่มพูนความไม่ประมาทเข้าไปแทนที่ เหมือนถ่ายเทน้ำเก่าอันขุ่นออกแล้วใส่น้ำใหม่ที่ใสสะอาดเข้าไป พยายามรักษาความไม่ประมาทที่ทำได้แล้วมิให้เสื่อมลงไปอีก กีดกันความประมาทที่ห่างไปแล้วมิให้เข้ามาอีก ดวงใจที่ห่างจากความประมาท อยู่ด้วยความไม่ประมาท มีสติระวังรอบคอบ ย่อมก่อให้เกิดปัญญา ปัญญานั้นว่องไว คล่องแคล่ว ปัญญานั้นสูงส่งดุจปราสาท กล่าวคือ ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ สามารถเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนจากภพอยู่ (จุติ) และเกิดอยู่ (ปฏิสนธิ) เหมือนคนยืนอยู่บนปราสาท มองลงมาเห็นคนยืนอยู่เบื้องล่างรอบๆ ปราสาท อนึ่ง เมื่อคนทั้งหลายเศร้าโศกอยู่ เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักบ้าง เพราะพบกับความเสื่อมจากญาติจากโภคะบ้าง เพราะประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักบ้าง บัณฑิตย่อมไม่เศร้าโศก เพราะได้มองเห็นความจริงเสียแล้ว มองเห็นความสุขและความทุกข์อย่างโลกๆ โดยความเป็นของเสมอกันคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน มีแต่กระแสอันไหลเชี่ยวแห่งกลุ่มธรรมอันหนึ่ง นักปราชญ์เช่นนั้นย่อมมองเห็นคนพาลเป็นผู้น่าสังเวช สงสารเหมือนผู้ยืนอยู่บนภูเขามองเห็นคนยืนอยู่ที่เชิงเขา
คนที่ไม่ควรคบ
ลูกเอ๋ย ความฉิบหายย่อมขยายวงออกไป เมื่อคบหากับคนพาลมากไป เจ้าอย่าได้สังคมกับคนพาลเลย เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาลมีแต่ทุกข์ร่ำไป เหมือนอยู่ร่วมกับศัตรูนั้นแหละ
พระธรรม
ถึงจะอยู่ใกล้บัณฑิต เป็นเวลานานชั่วชีวิต คนโง่ก็หารู้พระธรรมไม่ เหมือนจวักไม่รู้รสแกง
กูฏวาณิชชาดก ชาดกว่าด้วยหนามยอกเอาหนามบ่ง
นายบัณฑิตนั้นไม่ใช่คนโง่ เขาสังเกตเห็นพิรุจหลายอย่างจึงคิดพิสูจน์ว่ารุกขเทวดาที่ต้นไม้นั้นมีอยู่จริงหรือไม่ “ สหายจะให้เราเชื่อเช่นนั้นก็ได้ แต่เราขอพิสูจน์ให้แน่ใจก่อนนะ ” นายบัณฑิตได้เดินไปเก็บฟืนแล้วนำกองไว้ที่โคนต้นไม้ จุดไฟเผาในโพรงไม้นั้น “….เดี๋ยวเถอะจะได้รู้กันว่าเทวดาจริงหรือเทวดาปลอมกันแน่...”