ตโยธัมมชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ธรรม 3 ประการ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารถนาจะปลอบใจพระภิกษุทั้งหลาย ให้คลายความวิตกกังวลห่วงใยในพระองค์ และเลิกใส่ใจในการกระทำของพระเทวทัต เพราะพระเทวทัตมิได้ตามจองล้างจองผลาญพระองค์ เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อนๆ ก็ได้พยายามทำร้ายพระองค์มาโดยตลอด แต่ก็ยังไม่เคยทำได้สำเร็จเลยสักครั้ง
สัพพาทาฐิชาดก ชาดกว่าด้วยผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้
ปุโรหิตผู้หนึ่งของพระเจ้าพรหมทัตได้ฝึกซ้อมสาธยายมนต์ที่ชื่อว่า ปฐวีวิชัยมนต์ ปรากฎว่ามีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งแอบได้ยินและสามารถจดจำมนต์นั้นได้ และคิดการใหญ่โดยได้ยกกองทัพสัตว์เดรัจฉานหมายทำการรบกับพระเจ้าพาราณสีหวังจะแย่งชิงราชบัลลังค์
พระวัดเส้าหลิน
คุณชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตรธรรม
ครั้นหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ราษฎรใกล้ไกลล้วนศรัทธาพระพุทธศาสนาหลั่งไหลหารมาฟังธรรมเจริญภาวนาอยู่ไม่ว่างเว้น พระเทวีทั้ง 500 นางของพระเจ้ากรุงโกศลเองก็เช่นกัน แม้จะไม่ได้ออกมานั่งฟังธรรมอย่างคนอื่นๆได้ แต่ก็ได้นิมนต์พระอานนท์ไปเทศนาธรรมที่ในวัง เมื่อพระเทวีฟังธรรมจากพระอานนท์จบแล้วก็เกิดความเลื่อมใสถวายผ้าสาดกที่ได้รับมารวมทั้งหมด 500 ผืน
อสาตมนต์ชาดก-ชาดกว่าด้วยมนต์มายาหญิง
ณ พระเชตะวันมหาวิหารกาลนั้น มีภิกษุสงฆ์ผู้ตกทุกข์ด้วยเหตุจากอิสตรีเข้ากวนกิเลสมิให้ดื่มด่ำธรรมรสได้ดุจเดิม กิเลสจากหญิงนั้นทำให้บุตรแห่งพระสมณโคดมรูปหนึ่ง มิเป็นอันบำเพ็ญภาวนา
สุวรรณหังสชาดก ชาดกว่าด้วยความโลภ
เหล่าภิกษุณีได้นำกระเทียมภายในไร่ของอุบาสกซึ่งออกปากถวายไว้แล้ว กลับวิหารเชตวันอย่างมากมายไม่รู้จักประมาณ พฤติกรรมอันโลภมากนั้นไม่สมควรทำ เมื่อคนเฝ้าไร่พากันตำหนิเหล่าสงฆ์ในพระวิหารก็พลอยอับอายและโกรธเคืองไปด้วย
สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
แม่น้ำสายเล็กๆ ซึ่งเป็นแดนกั้นระหว่างเมืองกบิลพัสด์ุและเมืองเทวทหะได้เหือดแห้งลง เป็นเหตุให้ผู้คนทั้งสองเมืองเกิดการทะเลาะวิวาทแย่งน้ำกัน จนเกิดเป็นศึกสงครามระหว่างเมืองทั้งสองเป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จมาห้ามทัพทั้งสองฝ่ายเอาไว้
อัมพชาดก ชาดกว่าด้วยบัณฑิตควรพยายามร่ำไป
ในฤดูแล้งที่ยาวนาน แหล่งน้ำดื่มกินเหือดแห้ง ดาบสหนุ่มได้ทำรางไม้และตักน้ำมาเติมจนเต็มเพื่อให้สัตว์ทั้งหลายดื่มกิน จนตัวท่านเองเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรง สัตว์ทั้งหลายเห็นความลำบากของท่าน จึงพร้อมใจกันนำผลไม้จากป่าเอามาให้ดาบสในทุกๆ วัน
ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย
สสปัณฑิตชาดก ชาดกว่าด้วยผู้สละชีวิตเป็นทาน
“ มิจำเป็นที่ผู้อื่นจะต้องล่วงรู้หรอกท่านพญากระต่าย คุณความดีในการเสียสละชีวิตเพื่อให้ทานของท่านในครั้งนี้จะคงอยู่ปรากฎตลอดไป ” ทันทีที่กล่าวจบท้าวสักกะในร่างของพราหมณ์ ก็ทำการเขียนรูปของพญากระต่ายไว้บนดวงจันทร์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ในการเสียสละครั้งนี้ให้อยู่สืบไป