เจริญพุทธานุสติ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ พระองค์นั้น
พระพุทธคุณ ตอน สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของผู้ไร้ที่พึ่ง ทรงประทานความไม่มีภัยแก่เหล่าชนผู้มีความกลัว ทรงเป็นที่คุ้นเคยของผู้มีภูมิธรรมสงบ ทรงเป็นที่พึ่งที่ระลึกของผู้แสวงหาที่พึ่งที่ระลึก
เนมิราชชาดกบําเพ็ญอธิษฐานบารมี(6)
ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีกำลังวังชา มีกรรมอันเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนด่าว่าผู้อื่นซึ่งหากำลังมิได้ ชนเหล่านั้นมีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรม จึงตกลงสู่เวตรณีนรก
ศาสดาเอกของโลก (5)
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมดับหายไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ...
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ - เพียงพบเห็นก็เป็นมงคล
วันรุ่งขึ้น เขาได้จัดแจงตระเตรียมอาหารอย่างดี ไปหาพระเถระตั้งแต่เช้า และได้ยืนอยู่ในที่ท้ายสุดของหมู่ชน เขามองดูพระเถระแต่ไกล ยืนไหว้ท่านอยู่ตรงนั้น จากนั้นจึงเดินเข้าไปใกล้ท่านด้วยความปีติยินดี จับข้อเท้าของพระเถระไว้แน่น ไหว้ด้วยความนอบน้อมอีกครั้ง พร้อมกับกล่าวว่า “พระคุณเจ้าสูงมากนะขอรับ”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ผลแห่งการฟังธรรม
การบรรลุธรรมต้องอาศัยการสั่งสมความ รู้ คู่กับความบริสุทธิ์ ซึ่งเราจะบริสุทธิ์ได้ด้วยใจที่หยุดนิ่ง และลงมือปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง เมื่อปฏิบัติถูกส่วนก็จะเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย ดังนั้นการฟังธรรมแม้จะเป็นบทเดิมๆ แต่ธรรมะทุกบทสามารถขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ และจะเป็นพลวปัจจัยส่งเสริมให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - พญานกแขกเต้า
เมื่อพราหมณ์เห็นพญานกแล้ว ก็อุ้มมานั่งบนตักด้วยความรัก แล้วกล่าวว่า นก แขกเต้าเอ๋ย ท้องเจ้าคงจะใหญ่กว่าท้องของนกตัวอื่นเป็นแน่ ถึงกินข้าวของเรา แล้วยังคาบเอากลับไปอีก เจ้ามีฉางสำหรับเก็บข้าวไว้หรือ หรือว่าเรามีเวรต่อกันมาก่อน
มงคลที่ ๑๓ สงเคราะห์ภรรยา(สามี) - คู่ทุกข์ - คู่ยาก
คุณธรรมอีกอย่างหนึ่งที่พึงมี คือ ทั้งคู่ต้องมีปัญญาเสมอกัน ตั้งแต่ใช้เหตุใช้ผล ใช้สติมากกว่าอารมณ์ ไม่ตามใจตนเองจนดื้อรั้นเกินไป มีความเห็นอกเห็นใจกัน ต้องพูดกันรู้เรื่อง มีปัญหาก็ช่วยกันแก้ไข ไม่นิ่งดูดายในปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น หากเป็นเช่นนี้ ชีวิตคู่จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีความสุข แม้ในยามที่มีภัย ชีวิตก็สละแทนกันได้
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - ผลแห่งอริยวาจา
วาจาที่เปล่งออกจากปาก จะทำให้เป็นบุญเป็นกุศลก็ได้ หรือเราจะให้เป็นหอก เป็นเข็มที่มาทิ่มแทงจิตใจคนอื่นก็ได้ แต่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลาย ท่านจะใช้วาจาเป็นประดุจดอกไม้หอม เพื่อบูชาพระรัตนตรัย วาจาอย่างนี้แหละชื่อว่า อริยวาจา วาจาที่ประเสริฐ ที่เป็นทางมาแห่งความเป็นพระอริยเจ้า เป็นวาจาที่สามารถเปลี่ยนตัวเราเอง ดังเรื่องของพระอธิมุตตเถระ
ทศชาติชาดก เรื่อง พระเตมีย์ ผู้ยิ่งด้วยเนกขัมมบารมี ตอนที่ 18
สุนันทสารถีเมื่อได้ฟังเหตุผลอย่างชัดเจนก็เข้าใจ เกิดความเลื่อมใสว่า แม้พระราชกุมารผู้เป็นรัชทายาทยังมีพระประสงค์จะทรงผนวช แล้วตัวเราจะอยู่ครองเรือนไปทำไม จึงกราบทูลว่า