เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ
ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
ครั้งหนึ่งพระเจ้าโกศลทรงมัวเมาด้วยพระราชอิสริยยศหมกหมุนอยู่ในความสุขที่เกิดแต่กิเลสไม่ปรารถนาจะว่าราชการ ไม่ตัดสินคดีความแม้การบำรุงพระศาสดาและพระพุทธศาสนา พระบรมศาสดาจึงทรงให้โอวาทเตือนสติแก่พระเจ้าโกศลมิให้ทรงอยู่แต่ในความประมาท
พันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
อดีตกาลอันไกลออกไป ยังมีอัครเหสีผู้สมบูรณ์พร้อมในอิตถีลักษณ์ ชวนหลงไหล บำรุงบำเรอสุขแก่พระเจ้ากาสี อยู่ในพาราณสีนครหลวง “ หญิงสวยอย่างเรา แม้แต่พระเจ้ากาสีก็ยังหลงไหล ฮึ แล้วมีรึ ชายหนุ่มอื่นใดจะไม่ต้องการ
ปัพพตูปัตถรชาดก ชาดกว่าด้วยอภัยโทษ
พระเทวีและอำมาตย์ราชองครักษ์ แม้ทั้งสองจะมีใจให้กัน แต่ทุกครั้งที่แอบนัดพบกันนั้น ก็รู้สึกผิดต่อพระเจ้าพรหมทัตไม่น้อย “ ความรักของเรา คงเป็นไปไม่ได้หรอกท่านองครักษ์ เราไม่สามารถทอดทิ้งองค์พระเจ้าอยู่หัวได้ ” “ พระเทวีรู้สึกอย่างไร หม่อมฉันเข้าใจดี แม้แต่หม่อมฉันเองก็ไม่อาจทรยศต่อพระเจ้าพรหมทัตได้
กัณหทีปายนชาดก ชาดกว่าด้วยความรักที่มีต่อบุตร
“ เมื่อตอนแรกที่เราบวช เรายินดีประพฤติพรหมจรรย์ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จากนั้นแม้เราไม่ยินดีก็ทนประพฤติพรหมจรรย์ถึง ๕๐ กว่าปี ด้วยความสัตย์อันนี้ ขอให้ยัญญทัตตกุมารจงรอดชีวิตเถิด ” มัณพัพยะได้ถามถึงสาเหตุที่ทีปายนดาบสฝืนประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ยอมสึกมาครองเรือน “ ถ้าท่านไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แล้วทำไมท่านไม่ออกมาครองเรือนหละ ” “ เพราะเราไม่อยากให้ใครว่าเราเป็นคนเหลวไหล กลับกรอกนะสิ
มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
ในช่วงฤดูร้อนที่เกิดความแห้งแล้งแสนสาหัส บรรดาต้นไม้ต่างพากันล้มตาย มีพญานกแขกเต้าเพียงตัวเดียวที่ไม่ยอมทิ้งต้นมะเดื่อไปไหนถึงแม้ว่าต้นมะเดื่อจะไร้ผล ไร้กิ่ง ไร้ใบ แต่พญานกก็แทะกินกิ่งก้านที่พอมีประทังชีวิตของตน จนร้อนถึงบัลลังก์ของท้าวสักกะ
ผลชาดก ชาดกว่าด้วยความสามารถในการดูผลไม้
ณ นครสาวัตถี นอกฤดูพรรษาหนึ่งก่อนที่เหล่าภิกษุสงฆ์จะออกจาริกไปเผยแผ่พระพุทธธรรมตามนิคมแว่นแคว้นต่าง ๆ ชาวพระนครก็มักกราบอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จรับภัตตาหารที่บ้านเรือนตนอยู่มิได้ขาด ครั้งหนึ่งทรงรับนิมนต์คหบดีเจ้าของสวนผลไม้ จึงเสด็จนำหมู่ภิกษุสงฆ์ไปตามการอาราธนานั้น ชาวสวนผลไม้จัดพระพุทธอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับภายในเคหสถานของตนพร้อมกับพระเถระผู้ใหญ่
มาลุตชาดกว่าด้วยการถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่
มาลุตชาดก ขึ้นชื่อว่า ทิฐิมานะ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับใครแล้วก็ยากที่จะแก้ไขได้ตราบเท่าที่ยังหลงยึดมั่นแต่ความคิดเห็นของตัวเป็นหลัก ดังตัวอย่างใน มาลุตชาดก ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
ตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ
พวกท่านจะกลัวเสือตัวนั้นไปทำไม พวกเราไม่มีเขี้ยวหรือ กำลังกายไม่พรั่งพร้อมหรือ พวกเราทั้งหมดพร้อมใจกันแล้ว ก็จะจับมันตัวเดียวเท่านั้นให้อยู่ในอำนาจได้ พวกท่านดูสิพวกเรามีทั้งหมดกี่ตัว แล้วแค่เสือตัวเดียว เราจะเอาชนะมันไม่ได้รึ ตัจฉกสุกรกระทำพวกหมูทั้งหมดให้มีความสามัคคีเป็นใจเดียวกัน แล้ววางแผนกำจัดศัตรูเจ้าเสือร้าย
คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ
คิชฌชาดก พญาแร้งผู้มีความกตัญญู ผู้ที่สามารถนำพาเหล่าฝูงแร้งให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ แต่ตัวมันเองกลับต้องถูกจับเพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงอาญา...พญาแร้งจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่?...เกิดอะไรขึ้นกับพญาแร้ง?