ปัณฑรกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษการเปิดเผยความลับแก่ผู้อื่น
ปลายพุทธกาลวาระหนึ่ง เมื่อภิกษุในธรรมสภาปรารภถึงพระเทวทัตเถระซึ่งถูกทรณีสูบลงไปยังยมโลกเหตุเพราะก่อพุทธประหาร เทวทัตซึ่งนับเป็นพระญาติอันมากด้วยริษยาต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้นี้ทรยศหักหลังมิตร
สาลิเกทารชาดก ชาดกว่าด้วยนกแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
พญานกแขกเต้าผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดาของตน และมีจิตเมตตา ต่อทุกสรรพชีวิตแม้แต่พราหมณ์โกสิยะเจ้าของไร่ข้าวสาลี ผู้ที่สั่งให้คนดูแลไร่ข้าวสาลี ไปจับตนมา ซึ่งต่อมาในภายหลัง พราหมณ์โกสิยะก็ได้ชื่นชมยกย่องคุณธรรมความโอบอ้อมอารี ความกตัญญู ของพญานกแขกเต้า
กุสนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยประโยชน์ของการคบมิตร
ณ บ้านมหาเศรษฐี นามอนาถบิณฑิกะ ได้เกิดเรื่องวุ่นวายขึ้น เมื่ออนาถบิณฑิกะเศรษฐีได้คบหากับมิตรผู้ที่ฐานะต่ำต้อยกว่า และได้แต่งตั้งให้บุรุษผู้นั้นเป็นผู้ดูแลสมบัติทั้งหมดของตน เหล่าบรรดาญาติพวกพ้องของท่านอนาถบิณฑิกะต่างแสดงความไม่พอใจ และขอให้ท่านเศรษฐีเลิกคบหากับมิตรผู้นั้น
พระมหาสีลวะชาดก-ชาดกว่าด้วยการปรารภความเพียร
กาลครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับยังพระเชตวันมหาวิหารกรุงสาวัตถี พระองค์ได้หยั่งรู้ถึงความทุกข์กายทุกข์ใจของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรรูปหนึ่งที่ไม่อาจแสวงหาโลกธรรมได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดให้ทุกข์นั้นบรรเทาลง
สีลานิสังสชาดก ชาดกว่าด้วยอานิสงส์ของศีล
ณ ที่นี้ นอกจากพระรัตนตรัยแล้ว เราก็ไม่มีที่พึ่งอื่นใด ฉะนั้นแล้วเราจะระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยนี่แหละเป็นที่พึ่งยามคับขัน ขณะที่พระอริยสาวกเจ้าระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่นั้น พลันพญานาคราชที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนั้นก็ปรากฎกายขึ้นมา หลังพญานาคปรากฏกายขึ้นมาเหนือผืนน้ำได้มานาน ก็เนรมิตร่างกายของตัวเองให้เป็นเรือสำเภาลำใหญ่เต็มไปด้วยรัตนเจ็ดประการ
กุกกุฏชาดก ชาดกว่าด้วยว่าด้วยผลของการไม่เชื่อง่าย
นางแมวเดินย่องเข้าไปใต้กิ่งไม้ที่พญาไก่ป่าเกาะอยู่ มันพยายามพูดหลอกล่อให้ไก่ป่าตายใจไม่ทันได้ระวังตัวแล้วจะตะครุบกินเป็นอาหาร “ พ่อไก่ผู้สง่างาม ผู้มีขนสีแดงเป็นประกาย เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถอะ เรามีเรื่องจะพูดคุยกับท่าน ”
กุททาลชาดก ชาดกว่าด้วยความชนะที่ดี
ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เมื่อเบื่อชีวิตปุถุชนก็เอาจอบฝั่งดินไปเป็นฤาษี ครั้นเบื่อหน่ายเพศบรรพชิตก็สึก เป็นเช่นนี้มา ๖ ครั้งแล้ว สุดท้ายข้าพระองค์ได้นำตัวตั้งของกิเลส คือจอบคู่ชีวิตเล่มนี้ขว้างทิ้งลงแม่น้ำ ข้าพระองค์หันหลังเขวี้ยงมันไป เพื่อจะได้ไม่พบเห็นจุดที่มันจมอยู่อีกต่อไป และข้าพระองค์ก็ตัดขาดกิเลสกับมันแต่บัดนั้น
วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู
มิตตวินทุกชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษผู้ลุอำนาจความปรารถนา
ครั้งหนึ่งเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาข้อตัณหาอันเป็นสิ่งกว้างขวางไร้ขอบเขตจำกัด ณ พระเชตะวันมหาวิหารในนครหลวงแห่งมคธรัฐ พุทธวัจนในพระธรรมบทนี้ได้รับการจดจำต่อๆ กันว่าชนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้นก็เช่นผู้ถูกจักรกรดไว้
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น