ผลแห่งการยึดมั่นในพระรัตนตรัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั่นคร้าม ความขนพองสยองเกล้า จักไม่มี
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - อย่าลบหลู่คุณท่าน
เขาคิดว่า ถ้าเราบอกว่าเรียนมาจากคนจัณฑาล ก็จะได้รับความอับอาย และเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง คนอื่นจะไม่นับหน้าถือตา และยังจะถูกมหาชนดูถูกดูหมิ่นเอาอีกด้วย จึงกราบทูลว่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พร้อมๆกับที่เขากล่าวมุสา มนต์ก็เสื่อมในทันทีโดยที่เขาไม่รู้ตัว
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มัจฉาโพธิสัตว์ (บำเพ็ญสัจบารมี)
ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน มวลมนุษยชาติต่างปรารถนาจะให้โลกมีสันติสุขอย่างแท้จริง แต่ไม่มีใครรู้ว่า สันติสุขที่แท้จริงอยู่ที่ไหน จะเข้าถึงได้อย่างไร จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบว่า การที่จะทำให้เกิดสันติสุขที่แท้จริงนั้น มนุษย์ทุกคนจะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงสันติสุขภายใน คือ
อัครสาวก ซ้าย-ขวา
ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นอารมณ์ ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ ชนเหล่าใด รู้สิ่งที่เป็นสาระโดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นอารมณ์ ย่อมประสบแต่สิ่งที่เป็นสาระแก่นสาร
พุทธชิโนรส (๕)
ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้เพียงครู่เดียว เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น
มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - ตบะธรรมชนะกิเลส
ท้าวสักกะทรงดำริว่า “ดาบสนี้มีอานุภาพมากจะทำให้เราเคลื่อนจากความเป็นท้าวสักกะ เราจะต้องร่วมมือกับพระเจ้าพาราณสี ทำลายตบะของดาบสนั้นให้ได้” ครั้นเวลาเที่ยงคืน จึงเสด็จไปยังห้องบรรทมของพระเจ้าพาราณสี แสดงอานุภาพของท้าวสักกะ พลางตรัสกับพระราชาว่า
ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ หมั่นประกอบความเพียร ภิกษุผู้มีปกติพากเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นแก่นอน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจากโยคะ ผู้ยินดีในความไม่ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว
อนาถบิณฑิกเศรษฐี (ทรัพย์หมด แต่ไม่หมดศรัทธา)
บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ประพฤติกรรมอันเป็นบาป เพราะเหตุแห่งความสุขของตน ถูกทุกข์กระทบแล้ว แม้จะพลาดพลั้งลงไป ก็สงบอยู่ได้ ไม่ละทิ้งธรรม เพราะความรัก และความชัง
มงคลที่ ๒ คบบัณฑิต - ถ้อยคำของมิตรแท้
ผู้มีหัวใจยอดกัลยาณมิตร มีความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เมื่อเห็นข้อบกพร่องของผู้ใดแล้ว มีกำลังใจพอที่จะว่ากล่าวตักเตือน และพูดออกไปด้วยความหวังดี นับว่าเป็นผู้ที่หาได้ยากในโลก คนที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องมีจิตใจสูงส่ง ต้องคำนึงถึงประโยชน์ใหญ่เป็นหลัก แม้บางครั้งจะต้องพบกับความไม่พอใจหรือไม่เข้าใจของผู้ที่เราว่ากล่าวตัก เตือน แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ใจของผู้ชี้บอกขุมทรัพย์จะต้องยิ่งใหญ่และผ่องใสเสมอ