พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต รวมพุทธสุภาษิตที่สำคัญตามหมวดหมู่ พร้อมไฟล์ดาวน์โหลด พุทธศาสนสุภาษิตพร้อมคําแปล ความหมายของพุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิต คําอ่าน คําแปล
พุทธวิธีเพื่อเศรษฐกิจที่มั่นคง
ผู้ใดไม่ละเมิดความยุติธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว และความหลง ยศของผู้นั้น ย่อมเต็มเปี่ยมดุจดวงจันทร์ เปล่งแสงสว่างในข้างขึ้นทุกค่ำคืน
วิชชาธรรมกาย ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธองค์
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธองค์ เมื่อ “ธรรมกาย” เกิดขึ้น วัดปากน้ำได้นับคำวิพากษ์วิจารณ์กันมาก บางพวกก็ปลื้มใจ บางพวกก็หนักใจ บางพวกก็ตั้งข้อกล่าวหาลงโทษวัดปากน้ำอย่างหนัก ถึงกับพูดว่า อวดอุตริมนุสธรรมก็มี ข่าวนี้มิใช่ท่านจะไม่รู้ ท่านได้ยินเสมอๆ แต่เสียงนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนใจแก่ท่านแม้แต่เล็กน้อย ท่านกลับภูมิใจเสียอีกที่ได้ยินคำนั้น
ธรรมกาย กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม คำว่า “ธรรมกาย” มีปรากฏหลักฐานทั้งในพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของเราหลายแห่ง พุทธรัตนะ คือ ธรรมกาย ธรรมรัตนะ คือ ธรรมทั้งหลายที่กลั่นจากหัวใจธรรมกาย สังฆรัตนะ คือ ดวงจิตของธรรมกาย
คิดผิดคิดใหม่ได้ (๔)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียวที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
ตอแห่งวัฏฏะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นธรรมแม้สักอย่างหนึ่งที่จะมีโทษมาก เหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง
เส้นทางจอมปราชญ์ (๕)
บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อบรรลุนิพพาน เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร มีความหมั่นย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือน มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ ผู้นั้นแล ละจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
บุญเท่านั้นที่เป็นที่พึ่ง
ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาจะฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิน คือความตระหนี่ได้ ผู้นั้นแล ท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
บุคคลผู้ทรงธรรม
เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ
เปรต ๑๒ ตระกูล (๒)
พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา ทายกทายิกาทั้งหลาย เปรียบด้วยชาวนา ไทยธรรมเปรียบด้วยพืช ผลทานย่อมเกิดแต่การบริจาคไทยธรรมแก่ปฏิคาหก พืชนาและการหว่านพืชนั้น ย่อมให้เกิดผลแก่ทายกและเปรตทั้งหลาย เปรตทั้งหลายย่อมบริโภคผล แห่งการอุทิศส่วนบุญนั้น ทายกย่อมเจริญด้วยบุญ ทายกทำกุศลในโลกนี้แล้ว อุทิศให้เปรตทั้งหลาย ครั้นทำกรรมดีแล้วย่อมไปสวรรค์