ชัยชนะครั้งที่ 1 (ตอนที่ 2 ชนะพญามาร)
เราแสวงหานายช่างผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ จึงได้ท่องเที่ยวไปในสงสารมิใช่น้อย การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักไม่ได้กระทำเรือนอีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็กำจัดแล้ว จิตของเรา ถึงวิสังขารคือพระนิพพานแล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว ดังนี้...
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 2 พุทธคุณ ๘ ประการ)
บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอันประกอบด้วยคุณอันอุดมอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิดขึ้นในเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 5 พบมหาพรหม)
บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วยกุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (2)
ชีวิตนี้น้อยนัก หมู่สัตว์ย่อมตาย แม้ภายใน ๑๐๐ ปี ถ้าแม้สัตว์เป็นอยู่เกิน ๑๐๐ ปีไปไซร้ สัตว์นั้นก็ต้องตายเพราะชราโดยแท้
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - สละทุกสิ่งเพื่อรักษาธรรม
บ้านของอุบา สิกานั้น ล้อมด้วยกำแพง ๗ ชั้น มีซุ้มประตู ๗ ซุ้ม และยังเลี้ยงสุนัขดุไว้ทุกๆ ประตูอีกด้วย เมื่อพวกโจรสืบรู้ว่า อุบาสิกากับบริวารไปวัดฟังธรรม จึงพากันขุดอุโมงค์เข้าไปในบ้านของนาง โดยหัวหน้าโจรไปดักรออยู่หน้าประตูวัด ตั้งใจว่า ถ้าอุบาสิกานั้นรู้ว่า พวกโจรบุกเข้าไปในบ้านนาง นางจะต้องรีบกลับบ้าน หัวหน้าโจรก็จะดักฆ่านางตรงหน้าประตูวัดนั้นเอง
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 6 ขอลาบวช)
ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมต้านทานไม่ได้ ผู้เห็นภัยในความตายนี้มุ่งต่อสันติ พึงละโลกามิสเสีย
มหาโควินทสูตร (ตอนที่ 1 เทวสันนิบาต)
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุแห่งสุข และการสนับสนุนผู้พร้อมเพรียงกัน ก็เป็นเหตุแห่งสุข ภิกษุผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อมจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ภิกษุสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงในสรวงสวรรค์ตลอดกัป
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (5)
บุคคลอยู่ในเรือนของผู้ใดแม้คืนเดียว ได้กินข้าวและดื่มนํ้าแล้ว ไม่ควรคิดร้ายแก่ผู้นั้นแม้ด้วยใจ ผู้คิดร้ายต่อบุคคลเช่นนั้น ชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม และชื่อว่าประทุษร้ายมิตร บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวทราม
มงคลที่ ๒๓ มีความถ่อมตน - พระทัพพมัลลบุตร (๒)
ท่านพระทัพพมัลลบุตร ถึงแม้ว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เสร็จกิจของการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ท่านยังมีความเสียสละ รับเป็นธุระในกิจการงาน ของสงฆ์ เป็นการกระทำที่น่ายกย่อง และเป็นแบบอย่างในการสร้างบารมี
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - อภิชาตบุตรยอดกตัญญู
อานุภาพของการบำรุงบิดามารดาไม่ใช่ เรื่องธรรมดา ผู้ที่เลี้ยงดูบิดามารดา แม้ยักษ์ผู้มีใจเหี้ยมโหดก็ยังอ่อนโยนได้ แล้วเกิดความเลื่อมใส จนเปลี่ยนจากยักษ์ที่เหี้ยมโหดกลายมาเป็นยักษ์ใจดี มีศีลมีธรรม พระพุทธองค์ถึงได้ตรัสว่า เพราะการปรนนิบัติในบิดามารดา