ประมวลภาพ ฉลองสามเณรใหม่ วัดพระธรรมกายแวนคูเวอร์
ประมวลภาพ ฉลองสามเณรใหม่ วัดพระธรรมกายแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาวัดพระธรรมกายแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดาได้จัดงานฉลองสามเณร ไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม2553 เริ่มจากการปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา จากนั้นถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน และตักบาตรฉลองสามเณร ณ สนามด้านหน้าวัด ต่อด้วยการร่วมกันประเคนภัตตาหารเพลแด่ภิกษุสงฆ์สามเณร
ชีวิตเป็นของน้อย
แต่ที่แน่ๆการบวชครั้งนี้ จะปิดอบายให้กับตัวเอง เพราะจะได้รู้และปฏิบัติให้เข้าถึงการเป็นพระแท้ เป็นส่วนหนึ่งของการต่ออายุพระพุทธศาสนาให้สืบไปด้วยตัวของเรา รวมถึงบุญบวชที่จะมีต่อบุพการีผู้ให้กายเนื้อแก่เราครับ รีบมารายงานตัวบวชเป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อเป็นการเติมบุญให้กับตัวเองและคนที่คุณรักครับ
ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 151
ครั้นแล้ว มโหสถก็คิดหาอุบายได้อย่างหนึ่ง จึงได้เรียกสุวโปดกมา เพื่อมอบหมายภารกิจครั้งสำคัญ “มาถูระ เจ้าผู้มีปีกเขียวขจี มานี่เถิดลูกรัก” เจ้าสุวโปดกได้ยินเสียงร้องเรียกของมโหสถ ก็ดีอกดีใจ รีบบินร่อนออกจากกรงทอง ลงมาเกาะอยู่ที่คอน พลางส่งเสียงร้องทักทายด้วยภาษามนุษย์ว่า “นายของบ่าว นายผู้เป็นที่รักยิ่งของบ่าว มีสิ่งใดให้บ่าวรับใช้หรือขอรับ”
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - ศิษย์คิดล้างครู
มุสิละกราบทูลว่า ตนมีความสามารถพอๆ กับอาจารย์ จึงไม่ขอรับเงินเดือนที่ต่ำกว่าอาจารย์ ขอให้พระองค์พระราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูดอย่างนั้น ธรรมดาอาจารย์ต้องได้รับมากกว่าศิษย์ มุสิละก็ ไม่ยอม จากนั้นก็ออกไปประกาศให้มหาชนไปเป็นสักขีพยาน ในการประลองฝีมือการดีดพิณระหว่างตนกับอาจารย์
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - เครื่องหมายของคนดี
เมื่อน้องชายได้ฟังดังนั้น ก็สำนึกผิดในความดื้อรั้นของตน ไม่สามารถจะอยู่ในที่นั้นได้ จึงหลีกเร้นไปอยู่คนเดียว ปรารภความเพียรอยู่ในป่าลึก จนสามารถทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดขึ้นได้ แล้วคิดว่า จะนำพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีปมาขอขมาพี่ชาย เพื่อจะได้มีโอกาสมาปรนนิบัติดูแลบิดามารดาอีก
มงคลที่ ๒๕ มีความกตัญญู - สละชีวิตเพื่อพ่อ
ฝ่ายยักษ์รอคอยการมาของพระราชาอยู่ ใต้ต้นไม้ เมื่อเห็นพระโอรสเสด็จมาแทน จึงถามว่า ท่านไม่รู้หรือว่าเราเป็นยักษ์ ทำไมจึงเดินมาหาเรา พระโพธิสัตว์ตรัสว่า เรารู้ว่าท่านเป็นยักษ์กินคน เราคือโอรสของพระราชา วันนี้ท่านจงกินเราแทนพระชนกเถิด
เทศกาลออกพรรษาที่เชียงตุง
พระพุทธศาสนาในเชียงตุง เราจะไม่ทอดทิ้งกัน แม้ว่าจะมีความหลากหลายของเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ แต่วัดคือศูนย์รวมจิตใจ ให้ชาวเชียงตุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยไม่จำกัดว่า วัดนี้เป็นของใคร ส่วนใหญ่ชาวเชียงตุงจะมีวัดที่ไปบ่อยๆ หรือเป็นวัดที่บรรพบุรุษช่วยกันสร้าง แต่ประเพณีของเรา จะปลูกฝังให้ชาวเชียงตุงรักการทำบุญ และนิยมไปทำบุญกันหลายๆวัด จะเอาประเพณีเป็นตัวผลักดัน เรียกว่า สุข-ทุกข์ ก็ให้ไปวัด แม้ไม่มีอะไรมีแต่มือเปล่าก็มาวัดได้
เม็ดทองคำ 9 เม็ด มาจากไหน
ชายคนหนึ่ง รับราชการอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นผู้ที่มีความเคร่งครัดในศีล และ สวดมนต์ เจริญภาวนา อยู่เป็นนิจ จนบ้านของท่านไม่เคยว่างเว้นจากการมาเยี่ยมเยือนของผู้มีศีลมีธรรม เป็นพระบ้าง เป็นแม่ชีบ้าง เป็นคฤหัสถ์บ้าง พลอยทำให้บรรดาบริวารของท่านได้มีโอกาสนั่งสมาธิกันทุกคน …ด้วยอานุภาพแห่งบุญของท่าน ที่ทำในพระพุทธศาสนา มาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำให้สมบัติเกิดขึ้น ปรากฏให้เห็นเป็นอัศจรรย์…
ครบรอบ 15 ปี วันมรณภาพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
คณะสงฆ์วัดสามพระยา จัดพิธีบำเพ็ญกุศล วันครบรอบ 15 ปี แห่งการมรณภาพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร และอดีตเจ้าอาวาส บุรพาจารย์ บุรพการี วัดสามพระยา
บุพกรรมใดที่ทำให้ลูกต้องมารับภาระของครอบครัวเดิม คือ พี่น้อง และครอบครัวใหม่ คือ สามีและลูก จนทำให้เป็นโรคเครียด
ในบรรดาพี่น้อง ๗ คน มีลูกเพียงคนเดียวที่ได้รับการศึกษาถึงระดับมหาวิทยาลัย ภายหลังจากที่คุณแม่เสียชีวิตไปแล้ว พี่น้องทุกคนต่างพร้อมใจกันโยนภาระครอบครัวทุกอย่างมาไว้ที่ลูก ซึ่งตอนนั้นตัวลูกทำงานเป็นครู แต่งงานและมีลูกแล้ว จึงเป็นภาระที่หนักอึ้ง ทำให้ลูกเกิดความเครียดมาก จนมีอาการเบลอๆ ต้องหยุดงานเป็นเวลาครึ่งปี