มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - กลิ่นแห่งความหลุดพ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสตอบติสสฤๅษีว่า ชนเหล่าใดฆ่าสัตว์ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย มีความเห็นว่า ทานที่บุคคล ให้แล้วไม่มีผล เป็นผู้ประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ให้ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น เนื้อ และโภชนะไม่ชื่อว่าเป็นกลิ่นดิบ และสัตว์เหล่าใดขวนขวายในอกุศลกรรม ตายแล้วย่อมเข้าถึงที่มืด มีศีรษะลงตกไปสู่นรก
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - คนกินเดนหรือคนกินซากศพ
ฤๅษีได้ยินนกพูดดังนั้น ต่างถามกันว่า ที่นกแขกเต้าพูดนั้น ชมเราหรือติพวกเรากันแน่ นกพูดขึ้นทันทีว่า เราไม่ได้กล่าวชมพวกท่านหรอก เพราะพวกท่านกินซากศพ ไม่ได้กินเดน ฤๅษีย้อนถามว่า พวกเราได้สละเรือน สละเพศฆราวาสออกบวช ไม่เคยไปเบียดเบียนใคร มีชีวิตอยู่ในป่าด้วยการอาศัยซากสัตว์ที่เสือเหลือง เสือโคร่งล่ามาแล้วทิ้งไว้ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ท่านจะมาติเตียนเราได้อย่างไร
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ประพฤติธรรม คือ เรื่องสำคัญของชีวิต
สังขารร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ความแก่ ความเจ็บ ความตายได้คืบคลานเข้ามาในชีวิตเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกอนุวินาที โดยที่ตัวเราก็สังเกตไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๖๐ ปี จึงรู้ว่าเราแก่ลงทุกขณะ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องกันไปสู่ความเสื่อมสลาย ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต
ทศชาติชาดก เรื่องมโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 34
ท่านเสนกะกราบทูล เพื่อจะโน้มน้าวพระหฤทัยของพระเจ้าวิเทหราช ให้ทรงเห็นว่า ตนเป็นผู้รักษาเชิดชูพระอิสริยยศของพระองค์ มิยอมปล่อยให้พระบรมเดชานุภาพถูกดูหมิ่นได้โดยประการทั้งปวง พระเจ้าวิเทหราชทรงนิ่งสดับคำพูดของท่านเสนกะที่ กราบทูลมายืดยาว แต่พระพักตร์นั้นกลับทรงนิ่งเฉย มิได้แสดงพระอาการว่าเข้าพระทัยหรือทรงเห็นด้วยแต่อย่างใด
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - รอดชีวิตเพราะพหูสูต
เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ปุโรหิต ชื่อว่า เสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญามาก ในตอนนี้ท่านได้ช่วยพราหมณ์ชราให้พ้นภัยจากงูร้ายที่เข้าไปอยู่นอนกินข้าวสตุก้อน ข้าวสตุผง อยู่ในไถ้ของพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันชาญฉลาด เหตุการณ์ทั้งหมดจะเป็นอย่างไรนั้น
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาเพิ่มพูนเกียรติคุณ
"ยามคับขันย่อมต้องการคนกล้า ยามประชุมปรึกษาย่อมต้องการคนหนักแน่น ยามมีข้าวน้ำบริบูรณ์ย่อมปรารถนาผู้เป็นที่รัก ยามมีปัญหาย่อมปรารถนาบัณฑิตผู้มีปัญญา" พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็นยอดพหูสูต ผู้มีปัญญาลึกล้ำ
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - สั่งสมบุญเพื่อตนเอง
เทพธิดาผู้ได้สั่งสมบุญไว้อย่างดีแล้วในครั้งที่เป็นมนุษย์ ได้เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีล ที่ได้สมาทานไว้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และมีดวงตาเห็นธรรมแทงตลอดในอริยสัจ แล้วผลบุญจะเป็นเ่ช่นไรนั้น
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 15
สุธรรมาเทวสภา เป็นวิมานที่รุ่งเรืองด้วยแก้วไพฑูรย์ มีเสา ๘ เหลี่ยม ที่ทุกๆ เสาทำด้วยแก้วไพฑูรย์ ช่างวิจิตรตระการตาและงดงามยิ่งนัก พระเจ้าเนมิราชได้ตรัสถามมาตลีเทพสารถีว่า วิมานหลังนี้ช่างกว้างใหญ่ไพศาลนัก เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเป็นวิมานของใครกัน ส่วนว่าเพราะเหตุใด เทวสภาแห่งนี้จึงเกิดขึ้นมาได้นั้น มีความเป็นมาดังนี้
ทศชาติชาดก เรื่องเนมิราช ผู้ยิ่งด้วยอธิษฐานบารมี ตอนที่ 7
ข้าแต่มหาบพิตรผู้เป็นจอมชน ทางไปดาวดึงส์พิมานมีอยู่ ๒ ทาง คือทางแรกท่องไปสู่นรกอันเป็นที่อยู่ของหมู่สัตว์ผู้ที่เคยทำบาปกรรมเอาไว้ ก่อน แล้วจึงค่อยวกกลับขึ้นสู่สวรรค์ กับอีกทางหนึ่งนั้นตรงไปสู่สวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพบุตรเทพธิดาผู้ที่เคยทำบุญกุศลไว้ทีเดียวเลย พระองค์จะโปรดให้นำเสด็จไปทางไหนดีล่ะ พระเจ้าข้า