ทศชาติชาดก เรื่อง มโหสถบัณฑิต ผู้ยิ่งด้วยปัญญาบารมี ตอนที่ 130
ตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงมีพระบรมราชโองการ ประกาศให้เหล่าแม่ทัพนายกองทุกหมู่เหล่า ตลอดจนพลรบทุกหมวดกอง ที่บัดนี้กำลังอยู่ในภาวะระส่ำระสาย ให้ได้รับทราบโดยทั่วกันว่า กองทัพปัญจาลนครจะกลับเข้าประจำที่ดังเดิม และจะเข้าล้อมมิถิลานครไปจนกว่าจะมีคำสั่งต่อไป
แสวงจุดร่วม สมานจุดต่าง
ท่านทั้งหลายจงเห็นการทะเลาะวิวาทโดยความเป็นภัย เห็นความไม่วิวาทโดยความเป็นธรรมอันเกษม จงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน มีความประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพุทธานุสาสนี
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว พึงกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพราะพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ครุกรรม (๑)
คนพาลกระทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้สึก บุคคลที่มีปัญญาทรามย่อมเดือดร้อน เพราะกรรมทั้งหลายอันเป็นของตน เหมือนบุคคลที่ถูกไฟไหม้แล้วฉะนั้น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ควรบูชา
ผู้ใดพึงบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรงพระชนมชีพอยู่ก็ดี พึงบูชาพระบรมธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แม้พระองค์ท่านนิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมากเสมอกัน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงทำสถูปบูชาพระบรมธาตุของพระชินเจ้าเถิด
การหว่านไถอย่างอริยะ
ผู้ใดรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยในกาลก่อน แลเห็นสวรรค์ และอบาย บรรลุพระอรหัตอันเป็นที่สิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์แล้วเพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี บุคคลพึงให้ไทยธรรมในผู้นี้ ทานที่ให้แล้วในท่านผู้นี้มีผลมาก ทักษิณาย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้
ถึงพระรัตนตรัยได้ไปสวรรค์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระวิปัสสีพุทธเจ้าผู้เสด็จหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้ทรงพระปริวิตกเช่นนี้ว่า โลกนี้ถึงความยาก ย่อมเกิด แก่ ตาย และเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จบ ก็บุคคลไม่รู้ชัดถึงอุบายเครื่องพ้นทุกข์ คือ ชราและมรณะ การพ้นทุกข์ คือชราและมรณะนี้ จักปรากฏแต่เมื่อไร
นิพพานคือเป้าหมายของชีวิต
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่
ท้าวสักกะจอมเทพ
ท้าวสักกจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณะทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์