ทศพิธราชธรรม
ธรรมของนักปกครองหรือผู้นำในทุกยุคทุกสมัย เหมาะสำหรับการปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานไว้เป็นแนวทางในการปกครองหมู่คณะ ให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกทั้งผู้นำและผู้ตาม
มงคลที่ ๓๐ สนทนาธรรมตามกาล - ตอบปัญหาธรรมะ
ครั้งนั้น มีลูกของเศรษฐีได้สนทนากันในเรื่องที่ว่า ทำอย่างไรจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อไม่รู้วิธี จึงได้ชักชวนกันออกแสวงหาธรรมะกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เมื่อได้รับการแนะนำจากอาจารย์ให้มาถามปัญหาธรรมะกับพระบรมศาสดา จึงพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
เมื่อตรัสเล่าเรื่องนี้แล้ว พระบรมศาสดาก็ตรัสสรุปว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แร้งนั้นถึงความพินาศฉันใด แม้ผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าไม่เชื่อคำสอนของผู้รู้ทั้งหลาย ผู้หวังอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล แม้ผู้นั้นก็จะถึงความพินาศอย่างนั้นเหมือนกัน”
มงคลที่ ๒๖ ฟังธรรมตลอดกาล - ฟังธรรมดับทุกข์
ในสมัยพุทธกาล ท่าน สุปปพุทธกุฏฐิ เป็นคนยากจน ต้องเที่ยวขอทานขออาหารเขากินทุกวัน ทั้งยังป่วยเป็นโรคเรื้อนอีกด้วย วันหนึ่งมหาชนได้มาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรมจากพระบรมศาสดา สุปปพุทธกุฏฐิเห็นมหาชนมารวมกันจำนวนมาก จึงคิดว่า คงจะมีการแจกอาหารเป็นแน่ จึงไปที่นั่นเพื่อจะได้รับแจกอาหารบ้าง แล้ววันนั้นบุญเก่าที่ท่านเคยทำมาในอดีต ก็มาส่งผลพอดี
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ประมาทในธรรม
พระบรมศาสดาของเราทรงย้ำเตือนให้พุทธบริษัทไม่ประมาทในชีวิต ให้เร่งรีบสั่งสมบุญบารมี และฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง จะได้หลุดพ้นจากอาสวกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทรมาน *เหมือนในสมัยหนึ่ง มีภิกษุบวชใหม่จำนวน ๕๐๐ รูป เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพระบวชใหม่ จึงมีจิตใจฟุ้งซ่าน เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - อย่างหลงใหลเพลิดเพลิน
สมัยหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีหญิงงามเมืองผู้มีความงดงามคนหนึ่ง ชื่อ สิริมา ได้เคยประทุษร้ายต่อนางอุตตรา ซึ่งเป็นลูกสาวของท่านปุณณเศรษฐี เมื่อสำนึกผิดแล้วได้ขอโทษนางอุตตรา และทูลขอขมาโทษพระบรมศาสดาด้วย ในวันนั้น หลังจากได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาว่าพึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
มงคลที่ ๑๙ งดเว้นจากบาป - บาปแม้น้อยนิด อย่าคิดทำ
เรื่องของพระอรหันต์รูปหนึ่งผู้มีรูปร่างเตี้ย เพราะกรรมที่ทำไว้ในอดีต แต่ท่านก็ได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้แสดงธรรมได้ไพเราะที่สุด เรื่องของท่านมีอยู่ว่า
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - ผู้ก่อบาปกรรม ย่อมแพ้สงครามแห่งชีวิต
นายจุนทะ ผู้เลี้ยงชีพด้วยการขายเนื้อสุกร เขามีชีวิตอยู่กับการฆ่าสุกรมาตลอด ๕๕ ปี ทุกวันหลังจากที่ฆ่าสุกรแล้ว เขาจะแบ่งเนื้อไว้กินกันเองในครอบครัว และนำเนื้อส่วนที่เหลือไปขายเลี้ยงชีพ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เขาไม่เคยประกอบกุศลกรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา แม้พระบรมศาสดาจะประทับอยู่ในวัดเวฬุวัน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน เขาก็ไม่เคยไปวัด ไม่เคยถวายอาหารแม้เพียงข้าวทัพพีเดียว มีแต่ทำบาปกรรมมาตลอด
มงคลที่ ๑๙ งดเ้ว้นจากบาป - บาปไม่กล้ำกราย
ด้วยพุทธานุภาพ ทำให้นายพรานปล่อยลูกธนูไปไม่ได้ ครั้นจะลดคันธนูลงก็ลดไม่ได้ ได้แต่ยืนง้างธนูอยู่นานจนเมื่อย จะเปลี่ยนอิริยาบถอื่นก็เปลี่ยนไม่ได้ ลูกๆ ทั้งเจ็ดของนายพรานเห็นว่า สายแล้วพ่อของตนยังไม่กลับบ้าน สงสัยพ่อจะมีอันตราย จึงพากันออกตามหา พบพ่อยืนโก่งธนูหันไปทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเขาคิดว่า บุรุษนี้คงจะเป็นศัตรูของพ่อ ลูกของนายพรานทั้ง ๗ คน จึงโก่งธนูเล็งลูกศรไปทางพระบรมศาสดา
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - ผู้สะอาดด้วยความดี
ความเป็นผู้สะอาดด้วยความดีในจิตใจนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “คนดีย่อมไปหาคนดี คบกับคนดี” ครั้ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน ได้ปรารภถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นับตั้งแต่ท่านดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคล ท่านมีศีล ๕ เป็นปกติ ไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว แม้ภรรยา บุตรธิดา บ่าวรับใช้ทั้งหมดของท่าน ต่างพากันรักษาศีล ๕ ไม่ขาดเช่นเดียวกัน