ชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า (2)
นักปราชญ์เหล่าใดมีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา มีปกติเห็นธรรมพิเศษ รู้แจ้งธรรมอันประกอบด้วยมรรค และโพชฌงค์ เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาของพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้น ย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกชินเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรดฉะนั้น
ชีวิตพระปัจเจกพุทธเจ้า (1)
บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความนี้ว่า บุตรทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน บิดา และพวกพ้องทั้งหลาย ก็ไม่มีเพื่ออันต้านทาน เมื่อบุคคล ถูกความตายครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพาน ให้หมดจดโดยพลันทีเดียว
ธุดงค์ธรรมชัยกับพุทธประเพณีการล้างเท้าพระ
การล้างเท้าพระ เป็นพุทธประเพณีหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ดังเรื่องของสังขพราหมณชาดก ที่กล่าว ถึงอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ในชาตินั้น สังขพราหมณ์ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเสด็จมาด้วยเท้าเปล่าเหยียบย่ำทรายที่ร้อนดังถ่านเพลิง จึงเกิดกุศลศรัทธา รีบนิมนต์ พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปที่โคนต้นไม้ แล้วล้างเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยน้ำที่อบและกรองใสสะอาด
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 31 พระเจ้าสังขบรมจักรพรรดิ (3)
ภายหลังจากที่สองพ่อลูกซึ่งได้ถวายบรรณศาลาแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ละจากโลกไปแล้ว (คนที่เป็นลูก...ต่อมาก็คือพระเจ้าสังขบรมจักรพรรดิ ทั้งคู่ต่างก็ได้วนเวียนอยู่ในสุคติภูมิแต่เพียงอย่างเดียว
ปัจเจกพุทธภูมิ
ผู้หยั่งลงในความเพียรในกาลก่อนย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ คือ ๑.ทำให้ได้บรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ๒.ถ้ายังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน ย่อมให้บรรลุพระอรหัตตผลในเวลาใกล้จะตาย ๓.ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น จะเป็นเทวบุตรบรรลุพระอรหัตตผล ๔.ถ้าไม่อย่างนั้น จะเป็นขิปปาภิญญาตรัสรู้ได้เร็ว ในเมื่ออยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๕.ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ในภพสุดท้ายจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ ๓๔ ทำพระนิพพานให้แจ้ง - ผู้มีชัยชนะที่ไม่กลับแพ้
เมื่อพวกอำมาตย์กราบทูลให้เสด็จกลับ พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย เราไม่ใช่พระราชาแล้ว เราชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า” แล้วทรงเอาพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียร ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานไป เพศบรรพชิตเกิดขึ้นมาแทนที่ ทรงเหาะขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ประทับนั่งบนดอกปทุม
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทาน คือ เสบียงสู่ความหลุดพ้น
วันหนึ่งพระเจ้าเภรุวมหาราชทอดพระเนตรโรงทานของพระองค์ ทรงดำริว่า ปฏิคาหก ผู้รับทานของเรานี้ ล้วนเป็นผู้ทุศีล บริโภคทานแล้วไม่ทำให้จิตใจของทายกยินดีเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะได้เนื้อนาบุญ เราปรารถนาจะถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ ๘ มีศิลปะ - ศิลปะำในการดำรงชีวิต
ชายหนุ่มผู้มีศรัทธา เขาตั้งใจอุปัฏฐากบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า ตลอดครบถ้วนไตรมาส บุญใหญ่ตลอด ๓ เดือนทำให้เขาได้มาบังเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีวรรณะผ่องใส มีฝ่ามือฝ่าเท้าแดงงามเหมือนสีดอกหงอนไก่ ต่อมาได้ออกบวชประพฤติธรรม ในที่สุดก็บรรลุอรหัตตผลอันเลิศ
ทศชาติชาดก เรื่อง พระมหาชนก ผู้ยิ่งด้วยวิริยบารมี ตอนที่ 16
ทรงคาดการณ์ว่า นี้จะต้องเป็นเส้นพระเกศาของพระราชสวามี พระองค์ทรงปลงพระเกศาแล้วก็ทรงเปลี่ยนชุดเป็นบรรพชิต สละเครื่องราชาภรณ์วางไว้แล้วก็เสด็จลงจากพระราชวังไป ก็ทรงทราบได้ว่า “บรรพชิตรูปนั้น คงไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้าเสียแล้ว จะต้องเป็นพระราชสวามีสุดที่รักของเราอย่างแน่นอน”
ฉัททันตชาดก ชาดกว่าด้วยพญาช้างฉัททันต์
“ พรานเอ๋ย นางผู้นั้น ละวางพยาบาทได้ก็ด้วยชีวิตเรา จงเลื่อยเอางาของเราไปเถิด ” การสิ้นกรรมในชาติภพนั้น พญาฉัททันต์ทนเจ็บปวดเป็นที่เวทนาการ จนเมื่อพรานนำงาคู่ไปถึงกาสิกกรัฐ แล้วพญาช้างก็ขาดใจตาย