มงคลที่ ๓๑ บำเพ็ญตบะ - โลกตระการของคนเขลา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ตรัสถึงการให้ทานว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะเป็นการขจัดความตระหนี่ออกจากใจ จะได้เป็นบุญกุศลติดตัวข้ามภพข้ามชาติ เกิดมากี่ภพกี่ชาติจะได้ไม่ต้องลำบากในการทำมาหากิน จะได้สร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย แล้วจึงตรัสเรื่องการรักษาศีล ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งมวลที่จะทำให้มีความสุข ความบริสุทธิ์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มงคลที่ ๒๙ เห็นสมณะ - เส้นทางสมณะ
พอดำริเช่นนั้นแล้ว สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปหาพระอานนท์ ที่ดงป่าไม้สาละของพวกมัลลกษัตริย์ เพื่อกล่าวถึงความตั้งใจของตน ที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาที่ค้างคาใจ แต่ก็ถูกพระอานนท์กล่าวห้ามถึง ๓ครั้ง เพราะท่านเกรงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงลำบากพระวรกาย เนื่องจากพระพุทธองค์กำลังอาพาธ จึงไม่อยากให้ใครมารบกวน
มงคลที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย - การฝึกตน บนเส้นทางอริยะ
ในสมัยพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามครูฝึกม้าชื่อ เกสี ที่ไปเข้าเฝ้าพระองค์ว่า “ดูก่อนเกสี ใครๆก็รู้ว่าท่านเป็นครูฝึกม้าฝีมือดีคนหนึ่ง ท่านฝึกม้าอย่างไรเล่า” นายเกสีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การฝึกม้าของข้าพระองค์มี ๓วิธี คือ วิธีแรก ข้าพระองค์จะฝึกด้วยวิธีละม่อม ค่อยเป็นค่อยไป วิธีที่สอง ฝึกด้วยวิธีรุนแรง และวิธีสุดท้ายฝึกผสมกันทั้งสองวิธี”
มงคลที่ ๒๗ มีความอดทน - ขันติธรรมอยู่ที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญขันติธรรมว่าเป็นเลิศ เป็นหลักเป็นประธานที่ทำให้เกิดคุณ คือ ศีล สมาธิ กุศลธรรมทุกอย่างจะเจริญขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยขันติเป็นพื้นฐาน ผู้มีขันติธรรมอยู่ในใจ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ย่างขึ้นสู่หนทางสวรรค์และนิพพานโดยแท้ พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอีกว่า "ยกเว้นปัญญาแล้ว เราตถาคตสรรเสริญว่า ขันติเป็นเลิศ" เพราะฉะนั้น ขันติบารมีจึงเป็นบารมีที่เราจะต้องสั่งสมไว้ให้มาก ให้ติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ
มงคลที่ ๒๒ มีความเคารพ - ทางมาแห่งปัญญาบารมี
จากเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า ขนาด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาเอกของโลก ก็ยังทรงเคารพพระธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ เพราะความเคารพในธรรมเป็นทางมาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อม ในพระไตรปิฎกมีหลายสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่องความเคารพไว้ ทรงสั่งสอนทั้งแก่ภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา และเหล่าเทวดา ไม่ว่าจะเป็นการเคารพในพระศาสดา เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ เคารพในการศึกษา เคารพในสมาธิ เคารพในความไม่ประมาท และเคารพในการปฏิสันถาร
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - ไม่ควรประมาทในชีวิต
พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พลางทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์ว่า ทำไมอายุของมนุษย์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย มีความสั้นยาว ไม่เท่ากัน บาง ยุคมนุษย์มีอายุตั้ง ๘๐,๐๐๐ ปี และทำไมบางยุค อายุของมนุษย์สั้นเหลือเพียง ๑๐ ปี พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จะนิยมลงมาอุบัติในโลกมนุษย์ ในยุคที่มนุษย์มีอายุยืนยาวสักเท่าใด
มงคลที่ ๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา - เลิกอบายมุข พบสุขที่แท้จริง
ทันทีที่พระสาคตะเดินมาบิณฑบาต แต่ละครัวเรือนต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญให้ดื่มน้ำสุราชั้นเลิศ พระสาคตะไม่อยากขัดศรัทธา จึงดื่มสุราจากทุกๆ ครัวเรือนที่เขาถวาย เมื่อดื่มมากเข้า ก็เริ่มเมาประคองสติไม่อยู่ เมื่อจะเดินออกนอกเมืองเพื่อกลับวัด ก็เดินโซเซไปมา แล้วล้มกลิ้งเกลือกลงบนพื้นถนน บาตรและอาหารที่บิณฑบาตได้มา กระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากเมือง
มงคลที่ ๑๖ ประพฤติธรรม - สอนตน สอนคนให้ถึงธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน คือ ประการแรก ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น ประการที่สอง ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังจะสามารถตรองตามให้เห็นจริงตามที่พระองค์ทรง แสดงได้ และประการสุดท้าย ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือ ผู้ปฏิบัติตามธรรมนั้นจะได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัติ
มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต - กัลยาณวาทะ
นิครนถ์นาฏบุตร เจ้าลัทธิเดียรถีย์ที่ไม่ชอบใจในพระบรมศาสดา เพราะศรัทธามหาชนของตนเองห่างเหินไป จึงแต่งปัญหาข้อหนึ่งเป็นโอวัฏฏิกสาระ คือปัญหาวนเวียน ไม่มีใครสามารถแก้ได้ ปัญหานี้นิครนถ์ใช้เวลา ๔ เดือน จึงคิดออก และยุให้อภัยราชกุมารเรียนปัญหานั้นจนแตกฉาน เพื่อจะได้ส่งไปโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
วันวิสาขบูชา Vesak Day ตอน วันปรินิพพาน
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ นี่เป็นพระดำรัสสุดท้ายของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงรวบรวมพระโอวาททั้งปวงที่ได้ประทานมาตลอด ๔๕ พรรษานั้นลงในความไม่ประมาท