พระพุทธลีลา
พระ ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงสมบูรณ์ด้วยจรณะ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าวพระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสีพระชานุ และข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนินก็มีสมาธิ พระหฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน หรือลงเบื้องต่ำ ทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพญาช้าง ทรงทำโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจดวงจันทราในยามรัตติกาล
บุญไม่มีขายอยากได้ต้องทำเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสพระคาถาว่า “ปุญฺญญฺ เจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย” แปลความว่า ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่าความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.
สว่างไสวไปทั่วหมื่นโลกธาตุ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าสรรพสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใส ในบุคคลผู้เลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ
พุทธานุภาพไม่มีประมาณ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปราชญ์ ขวนขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบระงับ ด้วยสามารถแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ แม้เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมรักใคร่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น
พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่ 7 การสร้างมหาทานบารมีของสุรุจิพราหมณ์
สุรุจิพราหมณ์เมื่อได้ยินเช่นนั้นแล้ว ก็พลันบังเกิดมหาปีติที่ตนเองจะได้สร้างมหาทานบารมีครั้งยิ่งใหญ่
มหาบุรุษ อัครบุรุษแห่งโลก
บรรดาสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ทั้งที่เป็นสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า มีเท้ามาก เท้าน้อย หรือไม่มีเท้าก็ตาม เป็นเทวา พรหม อรูปพรหมก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น
บุญไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
เมื่อยังไม่หมดกิเลส ต้องสร้างบุญให้เต็มที่ เพราะ "การสั่งสมบุญเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า" นั่นเอง ...และที่สำคัญ "บุญไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง"
แนวคิดการบำเพ็ญบารมี_1
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑล ฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระชินเจ้า ฉันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศพระธรรมจักร ฉันนั้น
ลักษณะมหาบุรุษ (1)
ความมีวรรณะงาม ความมีเสียงเพราะ ความมีทรวดทรงดี ความมีรูปสวย ความเป็นใหญ่ ความมีบริวาร อิฐผลทั้งหมดนั้น บุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - ผู้ถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต
จนมาถึงในสมัยพุทธกาลนี้ ท่านเกิดในตระกูลเศรษฐี มีชื่อว่า โชติกะ ในวันที่ท่านเกิด สรรพาวุธทั่วทั้งเมืองเกิดแสงสว่างโชติช่วง ทั่วทั้งเมืองสว่างไสวไปหมด เมื่อถึงวัยที่จะครองเรือน พระอินทร์ได้เสด็จมาจากเทวโลก เนรมิตปราสาท ๗ชั้น ที่ทำด้วยรัตนะทั้ง๗ มีกำแพง ๗ชั้น แวดล้อมปราสาทอย่างประณีตสวยงาม