พระภัททกาปิลานีเถรี
บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ชอบ กล่าววาจาชอบ การงานชอบ เป็นผู้มีการสดับมาก ได้ทำบุญไว้ในชีวิตอันมีประมาณน้อยนิดในมนุษย์โลกนี้ บุคคลนั้นเป็นผู้มีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสวรรค์
ปฏาจาราภิกษุณีเถรี
หยาดน้ำค้างบนปลายยอดหญ้ายามต้องแสงอาทิตย์อุทัย ย่อมเหือดแห้งหายไป ตั้งอยู่ไม่นาน ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมถูกความแก่ ความเจ็บ และความตาย เผาผลาญไป ตั้งอยู่ไม่นาน ฉันนั้น
เขมาเถรี อัครสาวิกาเบื้องขวา
เราเรียกผู้ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลายเหล่านั้นว่า เป็นผู้สงบ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด จึงข้ามพ้นตัณหาไปได้
พุทธชิโนรส (๖)
ดูก่อนมารผู้กระทำซึ่งที่สุด ตัวท่านเป็นผู้ที่เรากำจัดเสียแล้ว ชนเหล่าใดสำรวมดีแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ชนเหล่านั้น ไม่เดินตามหลังมาร
พุทธชิโนรส (๔)
พระตถาคตผู้มีพระปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ทรงรักษาเราเหมือนนกต้อยตีวิด พึงรักษาไข่ เหมือนเนื้อจามรีรักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น
พุทธชิโนรส (๓)
มารดาบิดาหรือว่าหมู่ญาติทั้งหลาย ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบ พึงทำบุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น
พระโปฐิลเถระ
การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่า การศึกษาคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในอัตภาพ เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจความเพียรพยายามแล้ว บรรลุพระอรหัต ชื่อว่า วิปัสสนาธุระ
พุทธชิโนรส (๑)
ขอทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงนำไปสู่พระนิพพานอันสูญสิ้นกิเลสอาสวะ
พระนันทกเถระ (๑)
ความเคลือบแคลงสงสัยของหมู่ชน ย่อมไม่มีในวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าพระจันทร์จะพร่องหรือเต็มก็ตาม แต่พระจันทร์ก็คงเต็มดวง ฉันใด ภิกษุณีเหล่านั้น มีความชื่นชมยินดีต่อการแสดงธรรมของพระนันทกะ และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ก็ฉันนั้น
พระปิลินทวัจฉะ (๑)
สัตว์ทั้งปวงซึ่งเป็นมิตรและมิใช่มิตร ย่อมไม่เบียดเบียนเรา เราเป็นที่รักของสัตว์ทุกจำพวก นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม