พันธนโมกขชาดก ชาดกว่าด้วยการหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
อดีตกาลอันไกลออกไป ยังมีอัครเหสีผู้สมบูรณ์พร้อมในอิตถีลักษณ์ ชวนหลงไหล บำรุงบำเรอสุขแก่พระเจ้ากาสี อยู่ในพาราณสีนครหลวง “ หญิงสวยอย่างเรา แม้แต่พระเจ้ากาสีก็ยังหลงไหล ฮึ แล้วมีรึ ชายหนุ่มอื่นใดจะไม่ต้องการ
ขันติวัณณชาดก ชาดกว่าด้วยต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก
อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะมากได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของพระเจ้าโกศล พระราชาแม้ทรงทราบ ก็ทรงอดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา.......
ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภการที่พระสารีบุตรสามารถพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิศดาร ณ ประตูสังกัสนคร
อาวาริยชาดก ชาดกว่าด้วยไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินแก่ควรกาล
ฤาษีได้ให้โอวาทคนแจวเรือ ซึ่งเป็นคนที่โง่เขลา มีนิสัยดุร้าย ขี้โกง " ขอให้ท่านจงอย่าคิดเคืองโกรธไม่ว่าจะในที่ใด ๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีที่อาตมาจะให้ ” “ อะไรกันท่านฤาษี นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านจะให้ผมหน่ะ ” “ ใช่แล้วล่ะโยม ” “ ไม่ได้ ข้าไม่ยอม เอาของดีของท่านเก็บไว้ใช้กับตัวเถิด ค่าจ้างของข้า ต้องเป็นเงินเพียงอย่างเดียว เอาเงินมาให้ข้า ข้าต้องการเงินเท่านั้น ” ว่าแล้วคนแจวเรือก็ได้ทำการตบตี ทำร้ายฤาษีในทันที
มตกภัตตชาดก ชาดกว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์
“เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ความเกิดมี ของชาติภพนั้น เป็นทุกข์เช่นนี้ สัตว์จึงไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้มีปกติข้าสัตว์ ย่อมได้รับความเศร้าโศก ด้วยต้องเสวยมหันตทุกข์ตลอดกาลนาน เหล่าพราหมณ์เอ๋ย ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่นย่อมได้รับการเบียดเบียนเช่นกัน ดังนี้จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น อีกอย่างหนึ่ง ทุกท่านล้วนได้เห็นแล้วว่า แพะนี้เศร้าโศกแล้วเพราะมรณะภัยฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จึงไม่ควรกระทำกรรมคือ ปานาติบาต ไม่ควรฆ่าสัตว์ด้วยเหตุผลดังนี้”
สูกรชาดก ชาดกว่าด้วยสุกรท้าสู้ราชสีห์
ราชสีห์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำ วันหนึ่งมันเดินไปกินน้ำในสระ ซึ่งเป็นที่รวมของบรรดาสัตว์ทั้งหลาย เพื่อมากินน้ำ ระหว่างน้ันมันมองเห็นหมูตัวหนึ่งเที่ยวหากินอยู่ริมสระ มันจึงเดินหลบไป กลัวหมูจะเห็น และเกรงว่าวันถัดไปหมูจะไม่กล้ามาที่สระน้ำอีก เจ้าหมูเหลือบไปเห็นเข้าพอดี ก็เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าราชสีห์กลัวตน จึงวิ่งเข้าไปท้าทายขอต่อสู้กับราชสีห์
สุชาตกุมารชาดก ชาดกว่าด้วยการพรากจากสิ่งที่เป็นทุกข์
สุชาตกุมารเห็นบิดาห่วงใย ให้ข้อคิดอย่างสมคะเน แล้วก็เร่งกล่าวให้สติบิดากลับไปตามอุบาย “ท่านพ่อ วัวตัวนี้หาได้มีชีวิตแล้ว เหมือนท่านปู่ของลูกเช่นกัน แต่ยังมีศีรษะ มีปาก มีร่างกาย หู หาง ครบถ้วนอยู่ ย่อมต้องกินหญ้าที่ลูกนำมาเซ่นได้สิขอรับ ” “มันกินไม่ได้หรอกลูกเอ้ย มันตายไปแล้ว ” “ลูกเข้าใจว่ามันต้องกินหญ้านี้ได้ เพราะขนาดท่านปู่มิได้มีร่างกายเหลืออยู่แล้ว เหลือเพียงเถ้ากระดูกมนสถูป แต่ท่านพ่อยังนำดอกไม้เครื่องหอมต่าง ๆ แล้วก็อาหารคาวหวานไปร้องบอกท่านปู่ให้กินอยู่เลยขอรับ ”
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจ แม้น้อยนิด ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น
สกุณีคติชาดก ชาดกว่าด้วยไม่หากินไกลถิ่น
เมื่อโผ่ขึ้นสูงได้ระดับ พญาเหยี่ยวก็ตีลังกาพุ่งดิ่งลงยังนกมูลไถบนพื้นดิน ยิ่งใกล้ก็ยิ่งทวีความเร็วมากขึ้น นกมูลเตรียมตัวพร้อมอยู่บนก้อนดินซึ่งมันคัดเลือกไว้ แล้วก็กระโดดหลบไปใต้ก้อนไถอย่างรวดเร็วตามธรรมชาติของมัน พญาเหยี่ยวนักล่าเมื่อยั้งไม่ทันก็ไถลเข้ากระแทกก้อนดินไถอันแหลมคมสุดแรงเกิด เลือดพุ่งทะลักออกจากร่างปักคาก้อนดินไถอย่างสิ้นฤทธิ์
สัตตปัตตชาดก ชาดกว่าด้วยความสำคัญผิด
ข้อวินัยให้สงฆ์สาวกปฏิบัติแต่ละบทนั้น มักเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องไม่เหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป พุทธกาลครั้งหนึ่งก็เป็นดังนั้น พุทธวินัยครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะพระฉัพพัคคีย์ 2 รูปล่วงพระวินัยข้อยึดถือในทรัพย์ มิได้ปล่อยวาง ปล่อยตัวปล่อยใจไปกับกิเลส ภิกษุผู้ก่อเหตุที่ว่านี้ชื่อ พระปัณฑกะ และพระโลหิถกะ